การบูรณาการการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ทางจิตใจ ด้วยวิถีพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • สายันต์ ขันธนิยม หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, การให้คำปรึกษา, พระพุทธศาสนา, การบูรณาการ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวทางการบูรณาการการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ทางจิตใจด้วยวิถีพุทธจิตวิทยา เป็นการช่วยเหลือที่เกิดจากสัมพันธภาพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษา เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม การให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพในทางพระพุทธศาสนามีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจ สามารถตัดสินใจ และยอมรับตนเองในด้านต่าง ๆ จนเกิดความตระหนักถึงความต้องการของตนเองเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสุขภาพจิต ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
การบูรณาการการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ทางจิตใจด้วยวิถีพุทธจิตวิทยา เป็นการบูรณาการระหว่างจิตวิทยาการให้คำปรึกษากับคำสอนทางพระพุทธศาสนา ให้ผู้รับการปรึกษาได้รู้จักความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างรู้เท่าทันความทุกข์นั้น การประยุกต์ศาสตร์แห่งการให้คำปรึกษาเชิงพุทธนี้ คือ การนำองค์ความรู้ 6 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การปฏิสันถารด้วยจิตเมตตา ขั้นตอนที่ 2 การสนทนาอย่างเป็นกัลยาณมิตร ขั้นตอนที่ 3 การพินิจรู้ทุกข์ ขั้นตอนที่ 4 การชี้ชวนให้เห็นและเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ ขั้นตอนที่ 5 การนำพาให้บังเกิดสุขภายใน และ ขั้นตอนที่ 6 การให้แนวทางดำเนินชีวิตด้วยมรรควิธี นำมาบูรณาการร่วมกันกับหลักอริยสัจ 4 คือ การรู้ทุกข์ การรับรู้ปัญหาตนเอง สาเหตุปัญหาของความทุกข์ การรู้เป้าหมายในการแก้ไข และหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกอีกอย่างว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย 1) สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ 2) สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ 3) สัมมาวาจา การเจรจาชอบ 4) สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 5) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ 6) สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 7) สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ 8) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและเสริมสร้างวิถีในการดำเนินชีวิต

References

จีน แบรี่. การให้การปรึกษา Counseling. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2549.

นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. “การบูรณาการการให้คำปรึกษาและจิตบำบัด”. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (เมษายน–มิถุนายน 2557).

พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์. เอตทัคคะในพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, 2549.

________. จากจิตวิทยาสู่จิตภาวนา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, 2535.

________. ถ้ารู้จักพระพุทธศาสนาความสุขต้องมาทันที. พิมพ์ครั้งที่ 2. ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2551. http://www.watnyanaves.net/th/book_list.

พระอัครมหาบัณฑิต ศ. ดร.วัลโปละ ศรีราหุละ. พระพุทธองค์ทรงสอนอะไร. แปลโดย ดร.สุนทร พลามินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จันทร์เพ็ญ, 2553.

พุทธทาส อินทปัญโญ. อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ธรรมทานมูลนิธิ, 2554.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

วัชรี ทรัพย์มี. ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. “การพัฒนารูปแบบการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของพระสงฆ์ที่มีบทบาทให้การปรึกษา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา. คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

สุภาพร ประดับสมุทร. “การเกิดปัญญาในกระบวนการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยา”. ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา. คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. อริยสัจสำหรับทุกคน. กรุงเทพฯ: ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

โสรีช์ โพธิแก้ว. “การประยุกต์อริยสัจ 4 ของพระพุทธศาสนา กับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและจิตรักษา”. รายงานการวิจัย. คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

__________. Personal Growth and Counseling Group: A Buddhist Perspective.กรุงเทพฯ: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/29/2024