รำฉุยฉายตัวนางที่ปรากฏในละครรำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง รำฉุยฉายตัวนางที่ปรากฏในละครรำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การแสดงรำฉุยฉายตัวนางที่ปรากฏในละครรำ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิดีทัศน์การแสดง และสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อจัดหมวดหมู่และตีความข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า รำฉุยฉายตัวนางที่ปรากฏในละครรำมีจำนวน 15 ชุด เป็นการรำของตัวละครเอกหรือตัวละครสำคัญในเรื่องนั้น ๆ เมื่อพิจารณาถึงประวัติความเป็นมาของการรำฉุยฉายในแต่ละชุด พบว่า สามารถจำแนกวัตถุประสงค์หลักของการรำฉุยฉายได้ 3 ลักษณะ คือ 1. รำฉุยฉายเพื่อแสดงความภาคภูมิใจในการแต่งกายให้งดงามขึ้น 2. รำฉุยฉายเพื่อแสดงความภาคภูมิใจในความงามของการแปลงกายจากตัวละครหนึ่งไปเป็นอีกตัวละครหนึ่ง และ 3. รำฉุยฉายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น สำหรับดนตรีและบทร้อง พบว่า นิยมใช้วงปี่พาทย์ประกอบการแสดง ในส่วนของบทร้องที่ใช้ประกอบการแสดง มีลักษณะการประพันธ์ตามฉันทลักษณ์ของกลอนฉุยฉายและกลอนแม่ศรีและการบรรจุเพลงนั้น พบว่า มีทั้งเป็นไปตามโครงสร้างเดิมและแตกต่างไปจากโครงสร้างเดิม สำหรับผู้แสดงต้องคัดเลือกจากรูปร่างสมส่วน หน้าตางาม ดวงตาคมเข้ม บุคลิก นิสัยสอดคล้องตามบทร้อง และที่สำคัญต้องมีทักษะด้านนาฏศิลป์ไทยในขั้นสูง ในส่วนของเครื่องแต่งกาย พบว่า สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การแต่งกายยืนเครื่องตัวนางหรือนางยักษ์ และการแต่งกายตามสถานภาพของตัวละคร ส่วนท่ารำและกระบวนรำ พบว่า เป็นการรำทำบท ตีบท หรือรำใช้บทตามบทร้องและทำนองเพลง โดยจะใช้แม่ท่ามาตรฐานจากรำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท นาฏยศัพท์ และภาษาท่ามาร้อยเรียงขึ้นใหม่ตามประเภทและบทบาทของละคร นั้น ๆ
Article Details
References
AOF ZIXZAX. (2562). รำฉุยฉายพันธุรัต. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/-S0vD56VzH4
bthnd. (2559). ฉุยฉายวันทอง (เต็ม). เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/hctFSxc97G0
Refuse kamikaze. (2560). รำฉุยฉายจันทวดี. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/IehrqWEtHNU
Refuse kamikaze. (2560). รำฉุยฉายศูรปนขา. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/-NwGRSa1Pcs
Refuse kamikaze. (2563). ฉุยฉายผีเสื้อสมุทรแปลง. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/XDDs59sg50E
Siammelody. (2562). ฉุยฉายลำหับแสดงโดย สุชาดา ศรีสุระ. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/3X6b35yfRaw
ThepNimitra. (2554). ฉุยฉายวันทอง กรมศิลปากร. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/ekJJRkIA_Ls
Worawit Nu. (2565). ฉุยฉายมโนห์รา. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/OmrzyXAckKQ
Worawit Nu. (2565). ฉุยฉายวิมาลาแปลง. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/e6E_U5hsLgI
Worawit Nu. (2568). รำฉุยฉายกากี. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/ZsIZdMZLgN8
Worawit Nu. (2568). รำฉุยฉายนางพันธุรัตแปลง. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/4nklgW5SI8g
คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2565). ศิลปนาฏยวาทิต EP 14 l ฉุยฉายนารีผีเสื้อสมุทร. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/OCa2VFzPgFE?t=536
ชวลิต สุนทรานนท์ และคณะ. (2551). ทะเบียนข้อมูล: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ดนตรีนาฏศิลป์ไทย Byครูเนส. (2554). ฉุยฉายยอพระกลิ่น. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/Y1kRANFt44w
ดนตรีนาฏศิลป์ไทย Byครูเนส. (2559). ฉุยฉายนางแมว นางแมวเย้ยซุ้ม แม่นพรัตน์ หวังในธรรม. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จากhttps://youtu.be/SDnDlPE4WMY
ดนตรีนาฏศิลป์ไทย Byครูเนส. (2559). ฉุยฉายนางวิฬาร์. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/Zv3QMGbSYC8
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2559). งานสร้างสรรค์ชุด ฉุยฉายขุนแผนแสนสะท้าน. คณะศิลปนาฏดุริยางค์, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, กระทรวงวัฒนธรรม.
วันทนีย์ ม่วงบุญ. (2567). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (2558). ภาพเครื่องแต่งกายรำฉุยฉายกากี. กรมศิลปากร.
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (2560). รำฉุยฉายนางมณี. เรียกใช้เมื่อ 29 มีนาคม 2568 จาก https://youtu.be/Zthyt90w6b8
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (2561). ภาพเครื่องแต่งกายรำฉุยฉายศูรปนขา. กรมศิลปากร.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2544). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.