แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

สุวิมล บรรลือทรัพย์
วัชราภรณ์ เรืองสิทธิ์
ทรงเดช สอนใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู 2. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู และ 3. เพื่อประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู โดยการสร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แล้วนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 441 คน และวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน จากนั้นจัดลำดับความสำคัญของแต่ละด้านโดยการเรียงตามค่าเฉลี่ยของแต่ละด้านจากมากไปน้อย ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริม การปฏิบัติงานของครู โดยการยกร่างแนวทางโดยผู้วิจัย แล้วสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน จากนั้นร่างแนวทางการการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู และระยะที่ 3 ประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้เป็นระดับมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงานทางวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม และด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย

  2. แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู มีจำนวนทั้งสิ้น 5 องค์ประกอบ และนำมายกร่างร่วมกับผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แนวทางจำนวน 13 แนวทาง

  3. การประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงการศึกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). (2545) และ (ฉบับที่ 3). (2553). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

จิราภรณ์ พรมแพง. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(2), 19-34.

ภัทราพรรณ รุงเรื่องศิลาทิพย์. (2561). ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนและ ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มณีรัตน์ จันทร์ทรัพย์. (2560). การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภาวี ศิริลักษณ์. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการสอน ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 34-48.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวที สากล พ.ศ. 2563 (IMD 2020). กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (2566). คู่มือแนวทางการจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา.

_______. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ.

สุมาลี วงศ์ศรีแก้ว. (2561). การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนุชา นรินทรางกูร. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดภาระงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Day, C. (2004). A passion for teaching. Routledge Falmer.

Fullan, M. (2007). The new meaning of educational change (4th ed.). Teachers College Press.

Hargreaves, A., & Fullan, M. (2012). Professional capital : Transforming teaching in every school. Teachers College Press.

Leithwood, K. A. (2004). How leadership influences student learning. New York : Wallace Foundation.

Marzano, R. J. (2012). The art and science of teaching : A comprehensive framework for effective instruction. ASCD.

Naidoo, P. (2020). Transformational leadership and teacher commitment: Insights from South Africa. Journal of Educational Leadership, 18(1), 78- 93.

Schleicher, A. (2012). Preparing Teachers and Developing School Leaders for the 21st Century : OECD Publishing.

Wiliam, D. (2011). Embedded Formative Assessment. Bloomington, IN : Solution Tree Press.