ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2. เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 3. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 226 คน ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนประชากร 568 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สุ่มจำนวนโรงเรียน 25 โรงเรียน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นเกณฑ์ และขั้นตอนที่ 2 ใช้การสุ่มอย่างง่าย เป็นการสุ่มจำนวนครูจากโรงเรียนในแต่ละขนาด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวม มีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก 2. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ได้ร้อยละ 87.79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบคือ Ŷ = 3.727 + .624(L5)+.575(L1) + .657(L2) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานคือ = .763(L5) + .693(L1)+.621(L2)
Article Details
References
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
เจษฎา ถังเงิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการทำงานของโรงเรียนในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณภัทรารัตน์ ศรีเจริญ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(3), 70.
ดวงแข สุขประเสริฐ และปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(3), 496 - 511.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปวีณา บุทธิจักร์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิชญาภา ยืนยาว. (2562). ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา. ใน ตำรารายวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา รหัส 1065203 สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2548). หลักการจัดการศึกษายุคใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Chell, J. (2001). Introducing Principal to the Role of Instructional Leadership: A Summary of Master's Project. New York: McGraw-Hill.
Deming, W. E. (2004). Out of the Crisis. U.S.A.: MIT center for Advanced Engineering Study.
Likert, Rensis. (1967). "The Method of Constructing and Attitude Scale". In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley and Son.