การศึกษาผลกระทบในการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อการฝึกปฏิบัติงาน ในการดูแลผู้ป่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของนักศึกษารังสีเทคนิค คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคะแนนหลังเรียนบทเรียนออนไลน์ในการฝึกปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของนักศึกษาหลักสูตรรังสีเทคนิค 2. เพื่อศึกษาผลกระทบในการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อการฝึกปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของนักศึกษารังสีเทคนิค และ 3. เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้บทเรียนออนไลน์ต่อการปฏิบัติเพื่อการป้องกันอันตรายจากรังสีในการฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ของนักศึกษาหลักสูตรรังสีเทคนิค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรรังสีเทคนิค สาขาวิชารังสีวิทยา จำนวน 31 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินผลการฝึกปฏิบัติงาน และแบบรายงานผลการประเมินปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลด้วยแผ่นวัดรังสีโอเอสแอล (OSL) สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลคะแนนหลังการเรียนบทเรียนออนไลน์ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 9.48 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยมีนักศึกษาจำนวน 21 คนสอบผ่านเกณฑ์ได้คะแนนเต็ม 10 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 67.74
- ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานหลังจากฝึกปฏิบัติงาน 6 สัปดาห์ พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยใน 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการประเมินด้านความรู้และเข้าใจขั้นตอนการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ต่าง ๆ เช่น Bone scan, Myocardial perfusion, Renal scan, ด้านมีความรู้และเข้าใจขั้นตอนการเตรียมสารเภสัชรังสีและการควบคุมคุณภาพสารเภสัชรังสี และด้านอธิบายคำแนะนำต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจง่าย ถูกต้องชัดเจน เป็นลำดับ ส่วนในด้านความตระหนักถึงความปลอดภัยทางรังสีที่ได้รับคะแนน อยู่ในระดับดี
- ผลการประเมินการได้รับปริมาณรังสีจากแผ่นวัดรังสีชนิดโอเอสแอล (OSL) พบว่า นักศึกษามีค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีรายบุคคลเท่ากับ 34.29 ไมโครซีเวิร์ต ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยและต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง 3 ปีย้อนหลัง ในปี 2564, ปี 2565, และปี 2566 เท่ากับ 56.82, 142.42, และ 49.36ไมโครซีเวิร์ต ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากันมาก
ซึ่งผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าบทเรียนออนไลน์มีผลต่อการพัฒนาทักษะและความรู้ของนักศึกษารังสีเทคนิคในการดูแลผู้ป่วยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และสามารถช่วยลดการได้รับปริมาณรังสีในระดับที่ปลอดภัยได้
Article Details
References
ชฎาวัลย์ รุณเลิศ และคณะ. (2022). การศึกษาคุณลักษณะวิชาชีพรังสีเทคนิคที่พึงประสงค์ของนักรังสีเทคนิค ในระบบบริการสุขภาพ. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ สุขภาพ, 5(1), 1-13.
พจี เจาฑะเกษตรนิ. (2553). การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารเภสัชรังสี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พี.เอ. ลิฟวิ่ง จํากัด.
พลศักดิ์ คงแก้ว และคณะ. (2022). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์สามมิติด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม: หลักการทำงานและส่วนประกอบของเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ชนิด สองค่าพลังงาน. วารสารรังสีเทคนิค, 1(47), 73-82.
อัสนีย์ เหมกระศรี. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์บทปฏิบัติการชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
International Atomic Energy Agency. (2013). System of radiological protection.เรียกใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2568 จากhttp://www.iaea.org/Publications/Booklets/RadPeopleEnv/pdf/chapter_6.pdf
Richey, R. C., Klein, J. D., & Tracey, M. W. (2011). The instructional design knowledge base: Theory, research, and practice. Routledge.
Wildish, D. E. (1996). Interpreting the experience of adults engaged in self-directedlearning of the Internet (Master's thesis, University of Toronto). Graduate School, University of Toronto.