การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทพากย์เอราวัณ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ศรมณี ชัยพัฒน์
สุภัทร แก้วพัตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง                            บทพากย์เอราวัณ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน                        ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง                บทพากย์เอราวัณ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน                       ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร เป็นการวิจัยในชั้นเรียนโดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2567 จำนวน 41 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  (1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง บทพากย์เอราวัณ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน และ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง บทพากย์เอราวัณ โดยการหาคะแนนเฉลี่ยสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ หลังจากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกอนเรียนและหลังเรียนมาคิดคะแนนเป็น               ร้อยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) แลวนำคะแนนมาทดสอบ สมมติฐานโดยใชสถิติ t-test Dependent Sample


          ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทพากย์เอราวัณ โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80 และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 81.85/83.29 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.22 และ 16.66 ตามลำดับ

  2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทยจํากัด.

จุฬาลักษณ์ คชาชัย. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

จุฬาลักษณ์ พัฒนมาศ. (2564). การพัฒนามโนทัศน์หลักการใช้ภาษาไทยและความผูกพันในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ชัตสุณี สินธุสิงห์. (2532). วรรณคดีทัศนา. กรุงเทพฯ: โครงการตําราคณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยตาม ทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการตอบสนองต่อวรรณคดีการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดไตร่ตรองของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธินนท์ บุญสวยขวัญ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจริต เพียรชอบ. (2531). การพัฒนาการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.