ปัจจัยที่มีผลกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

Main Article Content

ณัทปภา สุริยะ
นัยนา ช่ำชอง
สุวัฒน์ อาษาสิงห์
จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา 2. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 163 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษา พบว่า


  1. 1. ระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ( = 4.33)

  2. 2. ปัจจัยที่มีผลกับการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.45)

  3. 3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา อยู่ในระดับสูง (r=.831) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คู่ที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด คือ ด้านการยอมรับตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาในระดับค่อนข้างสูง (r=.752) รองลงมาคือ ด้านแรงจูงใจในตนเอง ในระดับค่อนข้างสูง (r=.722) และด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ในระดับปานกลาง (r=.598)

Article Details

บท
บทความ

References

กรมที่ดิน. (2559). การเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงทพฯ: กองการพิมพ์ กรมที่ดิน.

ขจิตา มัชฌิมาและคณะ. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ Social Sciences Research and Academic Journal, 16(1), 15 – 30

จิราเจต วิเศษดอนหวาย. (2564). การศึกษายุคหลังโควิดจะใช้โลกทั้งใบเป็นห้องเรียนด้วยการ เรียนรู้แบบนำตนเอง (Self–Directed Learning). เรียกใช้เมื่อ ตุลาคม 2567 จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/535

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ดรุณี โอวจริยาพิทักษ์และคณะ. (2559). พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: 3. สุวีริยาสาสน.

พิณพิรัตน์ คนสนิท และต้องลักษณ์ บุญธรรม (2567) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของครูประถมศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 6(2), 387-400

วิจารณ์ พาณิช. (2567, 25 มิถุนายน). สังคมการเรียนรู้ คือสังคมแห่งคำถาม: ปุจฉา 5 ข้อ จาก ‘ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช’ ทบทวนความเข้าใจ(ผิด)ทางการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ ตุลาคม 2567 จาก https://thepotential.org/social-issues/learning-sciety/

มณฑิตา ชมดี. (2564). แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการ ในหลักสูตรการศึกษานอระบบระดับขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิดา จรุงเกียรติกุล. (2567). การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในยุคดิจิทัลผ่านการออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตร. งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 17. (1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2567).

อัญชลี ทองเอม และไพทยา มีสัตย์. (2563). การใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเองของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111),32 – 45.

Guglielmino, Lucy Madsen. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. Dissertation, Ed.D. University of Georgia. Retrieved Octorber 18,2005,from UMI Proquest Digital Dissertation.

Knowles, Malcom S. (1975). Self-Directed Learning: A guild for Learner and Teacher. Chicago : Association Press.

Skager, Rodney. W. (1978). Lift long education practice. Hamburg: UNESCO Institute for Education.