การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ของสถานศึกษาเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาเอกชน จากการศึกษาพบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เป็นการบูรณาการการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ากับกระบวนการในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกเพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ของสถานศึกษา และเชื่อมโยงเข้ากับแนวปฏิบัติด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 5 ด้านได้แก่ การวางแผนกำลังคน การสรรหาและการคัดเลือก การธำรงรักษาบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากร รวมถึงเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษาสามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกลยุทธ์แล้วก็จะส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นที่ทักษะ ความมุ่งมั่น และแรงจูงใจ สามารถนำพาสถานศึกษาไปในทิศทางที่ก้าวหน้าและรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันภายใต้กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ ช่วยให้ผู้บริหารมีการทำงานเชิงรุกกำหนดทิศทางแก่บุคลากรในสถานศึกษา สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และช่วยให้สถานศึกษาสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ภารกิจและวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย มีการประเมินความพร้อมของสถานศึกษา สร้างและทำให้กรอบการทำงานของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เป็นที่ยอมรับ ผู้บริหารต้องมีบทบาทสำคัญในการเป็นนักออกแบบองค์การ ผู้บริหารทุกระดับมีส่วนร่วมในการช่วยผลักดันให้กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์และกลยุทธ์ของสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ กำหนดแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับทิศทางของ และสถานศึกษาจะต้องมีการประเมินและยกระดับคนเก่งในสถานศึกษา
Article Details
References
จิระพงค์ เรืองกุน. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เนชั่นไฮย์ 1954.
เบญจาภา เบญจธรรมธร และคณะ. (2560). การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(2), 47-66.
ปาจรีย์ นาคะประทีป และคณะ. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับโรงเรียนเอกชน.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันติพล, 7(2), 209-216.
วัชรีพร จันทร์เพชร. (2565). อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สกุนตลา รัตนไพบูลย์วัฒนา และสายสุดา เตียเจริญ. (2565). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ง5(1), 109–123.
สโรชิน สุวิสุทธิ์ และคณะ. (25570). โอกาสและอุปสรรคของการศึกษาเอกชนขั้นพื้นฐานไทยในทศวรรษหน้า(พ.ศ. 2555 - 2564). วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 104-112.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
เอกอนงค์ ศรีสำอาง และ ปิยะนุช เงินคล้าย. (2559). การธำรงรักษาอาจารย์ใน สถาบันอุดมศึกษาไทย: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ. วารสารบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 153-170.
Beardwell, J. & Thompson, A. (2017). Human Resource Management A Contemporary Approach. London: Pearson.
Gustafson, B. R. (2014). A phenomenological study of professional development in the digital age: Elementary principals’ lived experiences. Department of Education Leadership, Faculty of Education, Bethel University.
Kotler, P. & Keller, K. (2021). Marketing Management. (16th ed.). London: Education, Inc.
Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2011). Educational administration: Concepts and Practices. CA : Wadsworth Publishing Company.
Noe, R. A., et, al. (2006). Human Resources Management: Gaining A Competitive Advantage (5th Ed.). New York: McGraw-Hill.
Ondrack, D. A. & Nininger, J. R. (1984). Human resource strategies: the corporate perspective. Business Quarterly, 49 (4): 101–109.
Schuler, R. S. (1992). Strategic Human Resource Management: Linking People with the Needs of the Business. Organizational Dynamics, 21:19–32.
Schuler, R.S. and Walker, J. (1990) ‘Human Resource Strategy: Focusing on Issues and Actions’,
Organisational Dynamics, Summer, 5–19.
Schuler, R. S. & Walker, J. (1990). Human Resource Strategy : Focusing on Issues and Actions. Organisationa Dynamics, Summer, 5–19.
Wright, M. & McMahan, C. (1992). Theoretical Perspectives for Strategic Human Resource Management. Journal of Management, 18(2), 295–320.