ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

Main Article Content

รัชดาวรรณ เยินยุบ
วรรณากร พรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 4. สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 310 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการ Stepwise


            จากผลวิจัย พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2. ระดับของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้  ด้านแบบแผนทางความคิด  ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการคิดเชิงระบบ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ซึ่งสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการพยากรณ์องค์กรแห่งการเรียนรู้ในรูปคะแนนดิบ คือ   = 1.530 + 0.714(𝑥4) + 0.584(𝑥3) - 0.630(𝑥1) และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน   = 0.759(Z𝑥4) + 0.568(Z𝑥3) - 0.591(Z𝑥1)

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการศึกษา. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579). สำนักพิมพ์กระทรวงศึกษาธิการ.

ชุตินันท์ มุ่งการนา. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. วารสารการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, 20(3), 51-60.

ไชยา ภาวะบุตร. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง: แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา พูลกสิ. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุธิศา ส่งศรี. (2563). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเอกชน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2562). องค์กรแห่งการเรียนรู้: แนวคิด หลักการ และกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถวิท ชื่นจิตต์. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการการบริหารการศึกษา, 14(3), 25-40.

Bentley, T. (2015). Learning beyond the classroom: Education for a changing world. Routledge.

Hussein, N. and others. (2016). Learning Organization Culture, Organizational Performance andOrganizational Innovativeness in a Public Institution of Higher Education in Malaysia: A Preliminary Study. Procedia Economics and Finance, 37, 512-519.

Johnson, S. (2018). Where good ideas come from: The natural history of innovation. Riverhead Books.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. Doubleday.

Smith, A. (2020). Organizational adaptability in a fast-changing world. Harvard Business Press.