แนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงช่องว่างทางดิจิทัล ในสถานศึกษาเอกชน

Main Article Content

ปิยวัน เครือนาค
วิรัตน์ มณีพฤกษ์
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร

บทคัดย่อ

       ในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถานศึกษาเอกชนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ โดยเฉพาะช่องว่างทางดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการเรียนการสอน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างทางดิจิทัลในสถานศึกษาเอกชนอย่างเป็นระบบ โดยอาศัย 6 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) วิเคราะห์บริบทและโครงสร้างของสถานศึกษา 2) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารและดำเนินงาน 3) เสริมสร้างความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากร 4) ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล 5) นำเสนอแนวทางการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ และ 6) สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
       สถานศึกษาเอกชนมีข้อได้เปรียบด้านความคล่องตัวในการบริหารและสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ยังคงเผชิญกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรดิจิทัลและความแตกต่างระหว่างบุคลากรในช่วงวัยที่มีระดับทักษะทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อนำไปสู่การลดช่องว่างทางดิจิทัล และเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรทุกระดับให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มศักยภาพ การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยให้สถานศึกษาเอกชนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เท่าทันกับยุคดิจิทัล พร้อมรองรับแนวโน้มและความท้าทายในอนาคต

Article Details

บท
บทความ

References

จันทิมา รุ่งเรือง. (2563). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนในยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จิรัตน์ อยู่ยืน. (2565). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของโรงเรียนวัดนาวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 65.

จีระนันท์ มูลมาตร และคณะ. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในยุคดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(2), 45.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล. ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

ปุณณิฐฐา มาเชค. (2562). การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในยุค 4.0 (ศตวรรษที่ 21). วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 41-52.

ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มัทนา วังถนอมศักดิ์ และคณะ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารความเปลี่ยนแปลง.

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 13(2), 4.

รักษ์ วรกิจโภคาทร. (2561). การบริหารคน..บนโลกของความผันผวน. เรียกใช้เมื่อ 12 มกราคม 2568 จาก https://shorturl.at/jpBLS

เรวัต แสงสุริยงค์. (2561). ความพยายามลดช่องว่างด้านดิจิทัลในสังคมไทย. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 61.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 62.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพร ทัตทวี. (2561). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม จาก https://www.graduate.nu.ac.th/wp-content/uploads/2019/06/ChangeManagement_8-9June2019_Siriporn.pdf

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2566). ร่างแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2566 – 2570. กลุ่มงานนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

อัครนันท์ คิดสม. (2564). การแบ่งแยกทางดิจิทัลในกลุ่มประเทศอาเซียนในทศวรรษ 2010. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18(2), 64.

ยืนยง ไทยใจดี. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 65.

เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล): Thailand 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ครั้งที่ 3

Coleman, V. (2021). Digital divide in UK education during COVID-19 pandemic: Literature review. In Cambridge Assessment Research Report. Cambridge, UK: Cambridge Assessment.