พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาจำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการควบคุมอาหารอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน โดยรวมทุกด้าน ดังนี้ ด้านการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพX4 ด้านการรับรู้ผลประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพX3 และด้านโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานX1 ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.421 0.275 และ 0.040 ตามลำดับ 3) ควรมีการรับประทานอาหารครบห้าหมู่ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ตลอดทั้งควรการรับประทานครบทั้งสามมื้อในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงน้ำหวาน น้ำอัดลม ทั้งเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จัดบริเวณในการออกกำลังกายที่มีอากาศบริสุทธิ์เลี่ยงการออกกำลังกายในภาวะอากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกิน และมีการรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องเป็นประจำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปัตตานี. (2564). Clinic Plus Pattani. ปัตตานีโรงพยาบาลปัตตานี.
ก้องกิดากร บุญช่วย และคณะ. (2563). การแสวงหาและการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนแออัดจังหวัดสงขลา. ในเอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 วันที่ 8-9 มกราคม 2563, สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ.
จงมณี สุริยะ และคณะ. (2556). โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ในหนังสือผลงานวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 10. วันที่ 24-26 กรกฎาคม 2556.
จิรพรรณ ผิวนวลและคณะ. (2561). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับนำตาลในเลือดไม่ได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วในตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1 (2), 46-61.
พรทิพย์ สมตัว. (2559). บทวิจัยปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุขคณะสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.
วินัฐ ดวงแสนจันทรและคณะ. (2564). การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. ในวิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล นครราชสีมา.
สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York.Harper and Row Publications.