การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืน ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ปรีชา หอมประภัทร
นัสพงษ์ กลิ่นจำปา
ชิตพล วิไลงาม
ฐิรพร ไพศาล
ดนัย ลามคำ
วนิศักดิ์ ภูดีทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วน จังหวัดหนองบัวลำภู คำนวนขนาดตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.960   


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 76.36  อายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 36.67 มีระดับการศึกษามัธยมศึกษา/อนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 62.73 และส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 43.33 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.69) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการตลาดท่องเที่ยว ( = 3.78) รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ( = 3.71) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการแสวงหาและสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ( = 3.62) ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรจัดให้มีพื้นที่เพื่อการขายสินค้าชุมชน มีตลาดอย่างถาวรเพื่อให้ประชาชนมีพื้นที่ขายอย่างจริงจัง เป็นตลาดการท่องเที่ยว เป็นจุดรวมการขายสินค้าโอทอป ประชาชนจะได้มีรายได้เพิ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว.2560. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พีดับบลิว ปริ้นติ้ง จำกัด.

ผกาวัลย์ พงษ์สระพังและ ชาญยุทธ หาญชนะ .2565. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่ความยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู, วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 7(5), 90 - 103.

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ. 2563. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน, วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(1), 1 - 12.

ธกฤต เฉียบแหลม, กลวัชร คล้ายนาค และ นภาพร รีวีระกุล (2560). แผนงานการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนากาท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561 - 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดหนองบัวลำภู. (2565). ข้อมูลด้านท่องเที่ยว.อำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู.

อภิสรา ชุ่มจิตร, นิศา ชัชกุล และ เครือวัลย์ ชัชกุล. (2557). การพัฒนาศักยภาพการจัดการธุรกิจชุมชน กรณีศึกษา: ตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, 10(2), 94-139.

Yamane, Taro. 1973. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.