การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น ตามหลักพละ 4 ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ธีรภัทร์ ทองเพ็ง
สุกิจ ชัยมุสิก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วม 3) เพื่อสัมภาษณ์ข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 214 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และทดสอบสมมติฐาน t-test และ F-test ค่าสถิติ ANOVA และเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท


ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักพละ 4 ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับได้ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คณะกรรมการชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักพละ 4 ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมไม่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ผลจากการสัมภาษณ์แนวทางการมีส่วนร่วมตามหลักพละ 4 ของคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชนควรใช้หลักพละ 4 เป็นแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2545). ประมวลสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการพัฒนาชมชน. กรุงเทพมหานคร: หจก. บางกอกบล็อก.

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ณาญิกา แสนธรรม และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการทำแผนชุมชน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(1), 57-67.

ธนวัฒน์ คำภีลานนท์. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พิชชานันท์ แพรงาม. (2563). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการบริหารงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ อยุธยาศึกษา, 12(1), 56-63.

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 45 ง หน้า 1-7 (25 กุมภาพันธ์ 2564).

รินทร์ธนัน ศิษฐกูลพงศ์. (2563). กระบวนการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนของคณะกรรมการชุมชน ในพื้นที่เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. ใน ระดับสารนิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันพระปกเกล้า. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมดาเพลส.

สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2548). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. ขอนแก่น: เจริญวิทย์การพิมพ์.

สํานักมาตรฐานการศึกษา สํานักงานสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ สํานักมาตรฐาน อุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.

(2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน. นนทบุรี: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

สารวุฒิสภา. (2563). บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ เรื่อง “รัฐธรรมนูญหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น”. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.senate.go.th/asset/portals/file/253/1_63.pdf.