รูปแบบการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ (ณัฐพงศ์ ยโส)

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาประกอบบริบท 


          ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย คือ (1) การพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (2) บทบาทมหาวิทยาลัยด้านพระพุทธศาสนาในการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (3) บทบาทมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
(4) แนวโน้มและทิศทางบทบาทมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 2) รูปแบบการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ขั้นที่ 1 รูปแบบแนวทางบทบาทมหาวิทยาลัยด้านพระพุทธศาสนาในการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ 1) การประชาสัมพันธ์ 2) พุทธบูรณาการ 3) วิถีปฏิบัติ ขั้นที่ 2 รูปแบบแนวทางบทบาทมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ 1) การให้ความรู้ความเข้าใจ 2) การพัฒนาด้านจิตใจ 3) การพัฒนาวิถีวิถีด้านพฤติกรรม ขั้นที่ 3 รูปแบบแนวโน้มและทิศทางบทบาทมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2) ด้านการส่งเสริมความสนใจทางการเมือง 3) ด้านการส่งเสริมความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย 4) ด้านการเสริมสร้างประชาธิปไตยฐานคติเศรษฐศาสตร์การเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. (2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553-2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายด้านพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

จักษ์ พันธ์ชูเพชร. (2555). รัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: สุขภาพองค์รวม.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2563 จาก http://www.thaiciviceducation.org/images/resource/articles/ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย.pdf

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.

ปภัสสร ไพบูลย์ฐิติพรชัย. (2553). การศึกษาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนโรงเรียนพณิชยการบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิชั่นส์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2554). การเมืองภาคพลเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

Hua, C. W. & Wan, K. E. (2011). Civic Mindedness: Components, Correlates and Implications for the Public Service. 15 January 2020 From http://www.cscollege.gov.sg/Knowledge/Pages/Civic-Mindedness-Components,-Correlates-and-Implications-for-the-Public-Service.aspx

Smart, D., et al. (2000). The Development of Civic Mindedness. 15 January 2020 From http://www.aifs.gov.au/institute/pubs/fm2000/fm57/ds.pdf