บทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงบทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ซึ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคมด้านต่าง ๆ เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยได้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก มีความผูกพันกันมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาไปอบรม สั่งสอน ซึ่งเป็นการกล่อมเกลาจิตใจให้คนในสังคมมีที่พึ่งทางใจ เพื่อยกระดับจิตใจของคนในสังคมให้สูงขึ้น และมุ่งสอนให้คนในสังคมมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน พระสงฆ์จึงเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนในสังคม และพระสงฆ์ก็มีบทบาทสำคัญต่อสังคม จนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้เป็นสังคมเป็นที่น่าอยู่
สำหรับบทบาทของพระสงฆ์ด้านการสาธารณสงเคราะห์ในการช่วยเหลือสังคมเห็นได้ชัดเจนมาก เพราะพระสงฆ์อยู่ใกล้ชิดกับคนในชุมชน พระสงฆ์จึงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันศาสนาและสังคม ในการอยู่ร่วมกันพระสงฆ์จึงต้องแสดงออกถึงบทบาทหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือสังคมในด้านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น บทบาทด้านการช่วยเหลือเกื้อกูล บทบาทด้านการช่วยเหลือสนับสนุนกิจการของรัฐหรือเอกชน บทบาทด้านการช่วยเหลือและการมีส่วนร่วมต่อสาธารณสมบัติ บทบาทด้านการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบสาธารณภัย บทบาทด้านการให้อาคารและสถานที่ของวัดเพื่อประโยชน์แก่ชุมชน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน และจะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการศาสนา. (2528). พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบและคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
ณัฐชยา ส้มเขียวหวาน. (2543). บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดราชบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพรมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทะศาสนาของธรรมสภา.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2534). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพุทธโฆษาจารย์. (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 33 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
พระครูประภัสร์สิทธิคุณ. (2555). บทบาทพระสงฆ์ด้านสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณทิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2525). กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญทัศน์.
สมคิด เพิ่งอุดม. (2535). การศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒเนาชุมชนตามทรรศนะของพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ 4 กระทรวงระดับตำบลในจังทวัดสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุพัตรา สุภาพ. (2522). สังคมวิทยา. กรุงเทพมทานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การกลับมาของพระพุทธศาสนา“พระเอก”