การวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และกระบวนการ AHP ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ดินถล่ม, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และกระบวนการ AHP ในการวิเคราะห์ เพื่อศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม อันนำมาสู่การบริหารจัดการในการป้องกันภัยพิบัติดินถล่มในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจัยที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลแหล่งน้ำ เส้นชั้นความสูง และความลาดชัน โดยนำข้อมูล Shapefile ทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และกระบวนการ AHP โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนระดับของปัจจัยและกำหนดคะแนนความสำคัญของปัจจัย จำแนกคะแนนเพื่อทำแผนที่ระดับความเสี่ยง 5 ระดับ คือ พื้นที่เสี่ยงน้อยมาก พื้นที่เสี่ยงน้อย พื้นที่เสี่ยงปานกลาง พื้นที่เสี่ยงมาก และพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด ผลการศึกษาพบว่า มีพื้นที่เสี่ยงเกิดดินถล่มน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2.87 พื้นที่เสี่ยงน้อยคิดเป็นร้อยละ 26.58 พื้นที่เสี่ยงปานกลางคิดเป็นร้อยละ 35.36 พื้นที่เสี่ยงมากคิดเป็นร้อยละ 32.59 และพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 2.61 ตามลำดับ โดยสามารถใช้ผลการศึกษาดังกล่าวในการเฝ้าระวัง หรือเตรียมความพร้อมหากเกิดภัยพิบัติดินถล่มขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมถึงการมีมาตรการป้องกันดินถล่มในระยะยาว เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกหญ้าแฝก การทำคันคูรับน้ำขอบเขา และการสร้างฝายชะลอความเร็วน้ำ เป็นต้น
References
กมลกานต์ บัวตะมะ, จินตนา กุลวิเศษ, ฐิติมา สร้อยพลาย, น้ำฝน เทนอิสสระ, และสุภาสพงษ์ รู้ทำนอง. (2564). การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินถล่มโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรครั้งที่ 1 (หน้า 573-585). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
กรมทรัพยากรธรณี. (2563). ภัยพิบัติทางธรรมชาติ. สืบค้น มีนาคม 3, 2563 จาก http://ndwc.disaster.go.th/cmsdetail.ndwc-9.283/26674/menu_7525/4214.1/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81+%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1+(Land+Slide)
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2563). ภูมิอากาศจังหวัดเชียงราย. สืบค้น มีนาคม 3, 2563 จาก https://www.tmd.go.th/
ภาณุวัสน์ เขียวสลับ และปิยพงษ์ ทองดีนอก. (2558). การประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการเปรียบเทียบพื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่สรอย จ.แพร่ และลุ่มน้ำคลองท่าทน จ.นครศรีธรรมราช. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(1), 63-79.
มัณฑนา จำรูญศิริ, อรอนงค์ ผิวนิล, เกษม จันทร์แก้ว, และสุรชัย รัตนเสริมพงศ์. (2559). การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทำให้เกิดภัยพิบัติดินถล่มในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่พูล และแม่พร่อง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19, 186-199.
สุภัทรา ผมทอง และดวงเดือน อัศวสุธีรกุล. (2560). การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยจากดินถล่ม ในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(3), 41-52.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย. (2563). ภูมิศาสตร์จังหวัดเชียงราย. สืบค้น มีนาคม 3, 2563 จาก https://www.cots.go.th/pages/?page=cr_gis
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.