ผลของการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพทางกายกำลังพลของกรมแพทย์ทหารเรือ

ผู้แต่ง

  • เบญจภัค สางห้วยไพร

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพทางกาย, ทดสอบสมรรถภาพทางกาย, กำลังพลทหารเรือ, พฤติกรรมการออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง (The One Group Pretest-Posttest Design) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ความรู้ ทัศนคติ ระหว่างก่อนกับหลังการเข้าร่วมโครงการ และ วัดความสุข ความพึงพอใจภายหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของกรมแพทย์ทหารเรือจำนวน 37 คน โดยรับสมัครผู้เข้าร่วมออกกำลังกายไท่เก๊ก จำนวน 25 คน และ ปั่นจักรยาน จำนวน 12 คน ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลและดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2560 วัดผลโดยค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ความรู้ และทัศนคติ ก่อนการเข้าร่วมโครงการ หลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นระยะเวลา 3 เดือน ประเมินค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ความรู้ ทัศนคติ ความสุขและความพึงพอใจภายหลังเข้าร่วมโครงการ

          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยน้ำหนัก รอบเอว ความรู้ ทัศนคติ ความสุขและความพึงพอใจภายหลังเข้าร่วมโครงการในภาพรวม พบว่า หลังเข้าโครงการ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักลดลง ซึ่งดีกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) ค่าเฉลี่ยรอบเอวลดลง ซึ่งดีกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     (p <.01) ค่าเฉลี่ย BMI ลดลง ซึ่งดีกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) ค่าเฉลี่ยความรู้ดีกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.22) ค่าเฉลี่ยทัศนคติดีกว่าก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01) ความสุขและความพึงพอใจภาพรวม ภายหลังเข้าร่วมโครงการออกกำลังกายไท่เก๊กและปั่นจักรยานมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.43 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กษมา ซื่อสกุลไพศาล. (2008). การศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการรำมวยไทชิที่มีต่อความสามารถทางกลไก

ทั่วไป สมาธิ และ ความแม่นยำในการยิงปืนของนักกีฬายิงปืนเยาวชนทีมชาติไทย.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2006). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่สำเร็จ

การศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตโดยใช้เวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษาและมากกว่าสองปีการศึกษา:รายงานผลการวิจัย.

สุธาสินี ศรีนุ่น, ลภัสร ดาหนุ่มคำ, วนลดา ทองใบ, จีราภรณ์ กรรมบุตร, สุกัญญา พูลโพธิ์กลาง, ประกาย เพชร

วินัย, ประเสริฐ & แสงวรรณ ตั้งแสงสกุล. (2017). ภาวะสุขภาพและความต้องการทาง ด้านสุขภาพของประชาชน:กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ (Journal of Public Health), 47(1), 56-66.

สุภาภรณ์, & สาลี่. (2012). ประสบการณ์ในการเรียนวิชาไท้จี๋ชิกง. วารสารคณะพลศึกษา, 2.

อมรเทพ วันดี. (2012). การเปรียบเทียบ ผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินร่วมกับการใช้น้ำหนักและไทชิ

ที่มีผลในการทรงตัวของผู้สูงอายุเพศหญิง.

Baron, R., & Kneissel, M. (2013). WNT signaling in bone homeostasis and disease: from human

mutations to treatments. Nature Medicine, 19(2), 179-192.

Benson, H., Rosner, B. A., Marzetta, B. R., & Klemchuk, H. P. (1974). Decreased blood pressure

in borderline hypertensive subjects who practiced meditation. Journal of Chronic Diseases, 27(3), 163-169.

Benson, H., Malhotra, M. S., Goldman, R. F., Jacobs, G. D., & Hopkins, P. J. (1990). Three case

reports of the metabolic and electroencephalographic changes during advanced Buddhist meditation techniques. Behavioral Medicine, 16(2), 90-95.

Lin, N., Ye, X., & Ensel, W. M. (1999). Social support and depressed mood: A structural

analysis. Journal of Health and Social Behavior, 344-359.

Rezer, E., & Moulins, M. (1983). Expression of the crustacean pyloric pattern generator in the

intact animal. Journal of Comparative Physiology A: Neuroethology, Sensory, Neural, and Behavioral Physiology, 153(1), 17-28.

Thomson, J. D., & Thomson, B. A. (1989). Dispersal of Erythronium grandiflorum pollen by

bumblebees: implications for gene flow and reproductive success. Evolution, 43(3), 657-661.

Thomson, J. D. (1989). Deployment of ovules and pollen among flowers within

inflorescences. Evolutionary Trends in Plants, 3(1), 65-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28