การศึกษาความแตกต่างของแบบจำลองการขยายตัวของเมือง CA-MARKOV, CLUE-S และ SLEUTH

ผู้แต่ง

  • กัลป์ กลับแสง

คำสำคัญ:

การขยายตัวของเมือง, แบบจำลอง CA-MARKOV, แบบจำลอง CLUE-S, แบบจำลอง SLEUTH

บทคัดย่อ

ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจมีผลต่อรูปแบบการขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยและเกิดย่านธุรกิจอย่างหนาแน่น การบริหารจัดการและการพัฒนาเมืองให้มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ ประกอบกับปัจจุบันได้มีการคิดค้นแบบจำลองการขยายตัวของเมืองเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการศึกษาความแตกต่างของแบบจำลองการขยายตัวของเมือง CA-MARKOV, CLUE-S และ SLEUTH เพื่อนำมาใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของแบบจำลอง โดยเป็นแบบจำลองที่สามารถจำลองรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของเมือง หรือการใช้ที่ดิน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาการขยายตัวของเมืองในบริบทต่างๆ ได้หลากหลายพื้นที่ใช้ปัจจัยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่สามารถเก็บรวบรวมและเข้าถึงได้ง่าย จากการศึกษาพบว่าการรูปแบบการขยายตัวของเมืองจากแบบจำลองทั้งสาม มีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากแบบจำลองมีพื้นฐานวิธีการวิเคราะห์ของแบบจำลองที่เหมือนกัน คือวิเคราะห์จากการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา มีการกำหนดกฎของการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่แตกต่างกันคือสมการที่ใช้ในการวิเคราะห์ จะเห็นได้ว่าแบบจำลอง CLUE-S มีข้อได้เปรียบสูงสุดเนื่องจากแบบจำลองมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินกับปัจจัยต่างๆ ในขณะที่แบบจำลอง CA-MARKOV จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพื้นที่การใช้ที่ดินบริเวณรอบข้าง และแบบจำลอง SLEUTH จะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปแบบการใช้ที่ดินประเภทเมืองกับปัจจัยด้านเส้นทางคมนาคมและความลาดชัน

 

References

D F Wagner. (1997). Cellular Automata and Geographic Information Systems. Environment and Planning B Planning and Design, 24(2), 219-234.

Fedra K.; & Feoli E. (1998). GIS technology and spatial analysis in coastal zone management. EEZ Technology, 3, 171-179.

Keith C. Clarke. (2002). Calibration of the SLEUTH urban growth model for Lisbon and Porto, Portugal, Computers, Environment and Urban Systems, 26, 525–552.

Peter Verburg. (2004). The CLUE Modelling Framework. (Course material). Institude for Environmental Studies. University Amsterdam.

Qi Lingrui. (2012). Urban Land Expansion Model based on SLEUTH, a Case Study in Urban Land Expansion Model based on SLEUTH. Master degree thesis. Department of Physical Geography and Ecosystems Science. Lund University. Sweden.

Singh Anuj Kumar. (2003). Modelling Land Use Land Cover Changes using Cellular Automata in a Geo-spatial Environment. M.S. thesis, International Institute for Geo-Information Science and Earth Observation Enshede, The Netherlands.

Tommaso Toffoli; & Norman Margolus. (1987). Cellular Automata Machine: A New Environment for Modelling. The MIT Press Cambridge: Massachusetts. London. England.

U.S. Geological Survey. (1996). Project Gigalopolis: The SLEUTH Overview. สืบค้น มิถุนายน 10, 2563 จาก http://www.ncgia.ucsb.edu/projects/gig/About/about.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

How to Cite

กัลป์ กลับแสง. (2021). การศึกษาความแตกต่างของแบบจำลองการขยายตัวของเมือง CA-MARKOV, CLUE-S และ SLEUTH. วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ, 1(1), 40–54. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/972