Environmental Management Approaches in Japan: Institutional Policy and Case study

ผู้แต่ง

  • อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, ญี่ปุ่น, การจัดการกากของเสีย

บทคัดย่อ

ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นสิ่งสะท้อนของแนวทางการพัฒนาในอดีตที่ขาดการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลของการพัฒนาที่มุ่งเน้นต่อการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เน้นความมั่งคั่งของนานาประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามทิศทางการพัฒนาดังกล่าวได้ถูกเปลี่ยนแนวคิดที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 ที่ได้มีนิยามคำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่เป็นแนวทางการพัฒนาหลักที่นานาประเทศทั่วโลกได้นำมาปรับใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศ ดังนั้นบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเน้น 4 หลักการสำคัญ คือ แนวทางการป้องกัน แนวทางผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย แนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจในการจัดการ หนึ่งในความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น คือ มาตรการส่งเสริมการรีไซเคิลขยะ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดเป้าหมายให้อัตราการรีไซเคิลขยะของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น การบังคับใช้กฎหมายรีไซเคิล การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนนำขยะกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น

References

Country digest. (2016). JAPAN POPULATION (2016). Retrieved Febuary 6, 2018, from Country digest, https://countrydigest.org/japan-population/

Forbes, G. (2005). A japanesefFramework for environmental protection. 鹿児島純心女子第第, 35, 135-141.

Midori, T. (2015). Japan's environmental policy. Retrieved February 1, 2018, from Research Institute of Economy, Trade and Industry, https://www.rieti.go.jp/en/special/policy-update/059.html#note2

Ministry of the Environment. (2006). Outline of the basic environment plan. Retrieved from JAPAN: https://www.env.go.jp/en/policy/plan/3rd_basic/outline.pdf

Ministry of the Environment. (2012). Solid waste management and recycling technology of Japan. Retrieved from Japan: https://www.env.go.jp/en/recycle/smcs/attach/swmrt.pdf

Ministry of the Environment. (2014). History and Current State of Waste Management in Japan. Retrieved from Japan: https://www.env.go.jp/en/recycle/smcs/attach/hcswm.pdf

The national SOS Children's Villages association of Japan. (n.d.). General information on Japan. from The national SOS Children's Villages association of Japan, https://www.sos-usa.org/where-we-are/asia/japan

The OECD Environment Programme. (n.d.). Environment Performance Review of Japan. Retrieved Febuary 7, 2018, from The OECD Environment Programme, http://www.oecd.org/environment/country-reviews/2110905.pdf

United Nations. (2016). The World’s Cities in 2016. n.p.: United Nations,.

Worldometers. (2017). Countries in the world by population (2017). Retrieved January 18, 2018, from Worldometers http://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30