ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะ กรณีศึกษาสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิสุตา นาวายนต์
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการสาธารณะ, คุณลักษณะการบริการ, สถานพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะการบริการและคุณภาพการบริการสาธารณะของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะการบริการกับคุณภาพการบริการสาธารณะของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะได้อย่างมีคุณค่า ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้ใช้บริการสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนด

ผลสรุปความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะการบริการกับคุณภาพการบริการสาธารณะของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (R=.801*)  โดยด้านคุณลักษณะการบริการด้านการบริการของสถานพยาบาลสามารถการตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างเหมาะสม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกว่าด้านอื่น  (r=.675*)  รองลงมาคือ คุณลักษณะการบริการด้านการบริการที่ได้รับในภาพรวมสร้างความพึงพอใจให้กับท่าน และยินดีจะมาใช้บริการต่อไป มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=.652*)  และ น้อยที่สุดคือคุณลักษณะการบริการด้านการให้บริการของสถานพยาบาลทำได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว สะดวกสบาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=.586*) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ผู้บริหาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ ควรวางแผนกำหนดกลยุทธ์ในการให้การบริการเชิงรุกร่วมกันเพื่อให้ได้แนวทางการบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็วให้เกินความคาดหวังของผู้รับบริการ โดยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของในบริการของสถานพยาบาล อันจะส่งผลให้องค์การได้เติบโต มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ.2561-2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานการวิจัย เรื่องความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.

กาญจนา คงวารี. (2556). ความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขต อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. นครปฐม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุฑามาศ นันทะเนตร และคณะ. (2560). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 8(4), 164.

เชิดศักดิ์ คำมี และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหาร ส่วนต้าบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560.

บันลือ เกิดไกล จิติมา กตัญญ และ วันทนีย์ ชวพงศ์. (2558). ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการต่อการดำเนินงานตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (นโยบายร่วมจ่าย 30 บาท รักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 6(1). 93-108

เฉลิมพร เย็นเยือก. (2565). การสื่อสารในองค์การ. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

Brown, S.W. & Bitner, M.J. (2007). Mandating a service revolution for marketing. In R.F.Lush, & S.L. Vargo (Eds). The Service-Dominant Logic of Marketing: Dialog, Debate and Direction. (393-405). Armonk, NY: M.E. Sharp.

Gronroos, C. (1990) Service Management and Marketing: Managing the Moments of Truth in Service Competition. Lexington Books, Lexington.

Millet, J.D.(1954). Management in public Services : the Quest of Effective Performance. New York : McGraw-Hill.

Nadiri, H. and Hussain, K. (2005), "Perceptions of service quality in North Cyprus hotels", International Journal of Contemporary Hospitality Management, Vol. 17 No. 6, pp. 469-480.

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A., (1991). Refinement and reassessment of the SERVQUAL scale. Journal of Retailing, 67(4), 420-450.

Penchansky, R. & Thomas, J.W. (1981) The concept of access: Definition and relationships to consumer satisfaction. Medical Care, 19, 127-140.

Qin,H.G. & Prybutok, V.R. (2008). Determinants of Customer-Perceived Service Quality in Fast-Food Restaurants and Their Relationship to Customer Satisfaction and Behavioral Intentions. Quality Management Journal. 15(2).35-50

Taylor, D. G., Aday, L. A., & Andersen, R. (1975). A social indicator of access to medical care. Journal of Health and Social Behavior, 16(1), 39–49.

Ware J.E. Jr, Davies-Avery,A. and Stewart A.L. (1978). The measurement and meaning of patient satisfaction. Health Med Care Serv Rev. Jan-Feb;1(1):1, 3-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05