การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะ เขตพื้นที่ตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการ, ขยะมูลฝอยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสระลงเรือ จังหวัดกาญจนบุรี 2) เสนอแนะแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลสระลงเรือง อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 352 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนด
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับผลการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.87 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .728 และยังพบว่าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับผลการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยทำให้สภาพแวดล้อมในชุมชนของท่านมีความสวยงามมากขึ้นมากที่สุด รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยทำให้ รับรู้ได้ถึงประโยชน์ของขยะมูลฝอยทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากขยะได้มากขึ้น ทั้งนี้การศึกษาแนวทางการสร้างความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ควรสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการขยะของประชาชนในชุมชน และ จัดหาทรัพยากรสำหรับการบริหารจัดการขยะที่มีความเหมาะสมให้กับประชาชนในชุมชนได้ใช้ประกอบการจัดการขยะได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564). กรุงเทพฯ : แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ. (2565ก). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. สืบค้น จาก https://thaimsw.pcd.go.th/localgovdetail.php?id=6193
กรมควบคุมมลพิษ. (2565ข). องค์ความรู้การเสริมสร้างศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : สงขลา.
พิศิพร ทัศนา และ โชติบดีรัฐ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตพื้นที่ เทศบาลนครพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่าย บัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศานศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1) น.183-197.
อรรถเรศน์ ปูระณะสุวรรณ์ และ วรสิทธิ์ เจริญพุฒ. (2562). ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารตำบลคลองเขิน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 1(3), กันยายน-ธันวาคม. น. 161-172
Cohen, J.M. , & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.
Huntington, S. & Nelson, S. (1975). No easy choice: political participation in developing countries. New York: Harvard University Press.
United Nations.(1981). Yearbook of International Trade Statistics. United Nations: UN Press.
William, E. (1976). Participation Management : Concept Theory and Implementation. Atlanta G. : Georgia State University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.