ผู้ให้บริการกับพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในเมืองท่องเที่ยว: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, ขยะพลาสติก, ถุงพลาสติก, เมืองท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

ปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทย ถือเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบ หนึ่งในวิธีการจัดการขยะพลาสติกควรคำนึงถึงเรื่องพฤติกรรมของผู้ให้บริการและผู้บริโภคเป็นสำคัญ การศึกษาเรื่องผู้ให้บริการกับพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในเมืองท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับถุงพลาสติกหูหิ้วของผู้บริโภคในการใช้บริการผู้ให้บริการในเมืองท่องเที่ยว โดยใช้เทคนิคการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลบริเวณ ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าท้องถิ่น ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด จำนวน 9 ครั้ง ผู้สังเกตการณ์จำนวน 3 คน โดยในแต่ละใช้ระยะเวลาในการสังเกตการณ์ประมาณ 45 – 60 นาทีต่อสถานที่ และใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของผู้ให้บริการมีผลต่อพฤติกรรมการรับถุงพลาสติกหูหิ้วของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า และถนนคนเดิน ในทางกลับกันร้านค้าท้องถิ่น และตลาดสด พฤติกรรมของผู้บริโภคไม่มีความแตกต่างกัน ข้อค้นพบจากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของผู้ให้บริการในการจัดการขยะพลาสติกแบบมุ่งเป้าเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทยภายใต้แผนแม่บทการจัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย 13 ปี ที่กำหนดเป้าหมายในการลด เลิกใช้ และนำกลับมาใช้ประโยชน์ 100 เปอร์เซ็นต์

 

References

BrandInside. (2022). ขยะพลาสติกไทย ติดอันดับ 12 ของโลก ปริมาณ 4.8 ล้านตันต่อปี หลักๆ จากความนิยม Food Delivery. from BrandInside https://brandinside.asia/plastic-pollution/

Makarchev, N., Xiao, C., Yao, B., Zhang, Y., Tao, X., & Le, D. A. (2022). Plastic consumption in urban municipalities: Characteristics and policy implications of Vietnamese consumers’ plastic bag use. Environmental Science & Policy, 136, 665-674. doi:https://doi.org/10.1016/j.envsci.2022.07.015

OECD. (2022). Plastic pollution is growing relentlessly as waste management and recycling fall short, says OECD. from OECD, https://www.oecd.org/environment/plastic-pollution-is-growing-relentlessly-as-waste-management-and-recycling-fall-short.htm

Senturk, G., & Dumludag, D. (2021). An evaluation of the effect of plastic bag fee on consumer behavior: Case of Turkey. Waste Management, 120, 748-754. doi:https://doi.org/10.1016/j.wasman.2020.10.042

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

ธงชัย สุธีรศักดิ์, วัชรวดี ลิ่มสกุล, ณัฏฐินี อุทกูล และณัฏบาพร อุทกูล. (2563). พฤติกรรมการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ใช้แล้วทิ้งของร้านอาหารขายอาหาร กรณีศึกษา อำเภอเมืองและอำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา 2(1): 68-72.

ธริดา เสนาวงษ์, นริสา อินทร์สอน, พงษ์เพชร ใบงาม, สง่า ทับทิมหิน, และปวีณา ลิมปิทีปราการ. (2564). การรับรู้นโยบายการจัดการขยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้ค่าในตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 15(37): 210-223.

วิษณุ คงสุวรรณ และจำลอง โพธิ์บุญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีเขตห้วยขวาง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์ และวิษณุ เหลืองลออ. (2557). เจตคติและพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(1), 70-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-22