การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid19) กรณีศึกษาชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง1

ผู้แต่ง

  • วิภาวี ยศตันติ
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, เชื้อไวรัสโคโรน่า, ชุมชนบ้านเอื้ออาทร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิตคลอง 1 ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ใช้วิธีการคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 366 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจยัครั้งนี้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ร้อยละ ค่าความถี่  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานในการทดสอบสมมติฐานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด

ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน และพบว่าทัศนคติที่มีต่อผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ด้านการดำเนินการ และด้านการประเมินผล มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคโควิด 19 ของ ชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และพบว่าพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ที่มีต่อผลการมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการ ด้านการรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคโควิด 19ของชุมชนบ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 1 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

 

References

กัญรยาณีย์ กาฬภักดี. (2557).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูดอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์ กระจายอํานาจ และการบริหารงานท้องถิ่น.คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงศ์ พิสิฐ ศกรียพงศ์ พัชรี สิโรรส ถวิลวดี บุรีกุล โสภารัตน์ จารุสมบัตร วิศิษฏ ชัชวาลทิพากร ทวิติยา สินธุพงศ์ วิริยา จรศรี กฤตติยา ยุวนะเตมีย์ และ สิทธิศานติ์ ทรัพย์สิริโนภา.. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

จิตรา อยู่ผ่อง สุปาณี สนธิรัตน์ และทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2563). ความรู้ ทัศนคติ กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชาวบ้านบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมาครั้งที่7 ประจำปี พ.ศ.2563 นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและสังคม ในยุคดิจิตอล. 7 . 278-286.

ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ. (2552). การออกแบบและดัดแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ชุมชนเอื้ออาทร รังสิต คลอง 3 ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

เทศบาลนครรังสิต. (2564). สารสนเทศ. สืบค้น http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER27/DRAWER049/GENERAL/DATA0000/00000254.PDF

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล. (2549). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

ปัทมา สูบกำปัง. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 7(2). 42-59.

สถาบันพระปกเกล้า. (2565). การมีส่วนร่วม. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?titleA1

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1) , 183-197.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ พ.ศ.2566-2570. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

อรทัย ก๊กผล. (2562). การปกครองส่วนท้องถิ่น : การมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี : พิมพ์ลักษณ์.

Hood, Christopher. (1991). A public management for all seasons?. Public Administration69, (1) 3-19.

World Health Organization Thailand. (2020). โรคโควิด 19 คืออะไร. สืบค้น https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/update-28-covid-19-what-we-know---june2020---thai.pdf?sfvrsn=724d2ce3_0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30 — Updated on 2023-06-30

Versions