ผลกระทบทางสังคม: เสียงสะท้อนจากคนในชุมชนโครงการก่อสร้างเขื่อน ป้องกันตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี https://orcid.org/0000-0002-9171-4716
  • วัชรพงศ์ หนุมาศ

บทคัดย่อ

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ต่อสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยไม่เพียงแต่จำเป็นต้องหาแนวทางการป้องกันในทางวิศวกรรมศาสตร์แบบโครงสร้างแข็ง หรือโครงสร้างอ่อน รูปแบบการสร้างระบบนิเวศภายใต้แนวทางพื้นฐานทางธรรมชาติที่เหมาะสมแต่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากแรงคัดค้านของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาศัยในพื้นที่ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคมในระดับชุมชน โดยการวิจัยการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการดำรงชีวิต (Live) ด้านการประกอบอาชีพ (Work) และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Play) ของโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันริมตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยเป็นงานวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 76 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงบวกส่วนใหญ่เกิดในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเอื้อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว และการนันทนาการ ในทางกลับกันการเปลี่ยนทางสังคมเชิงลบส่วนใหญ่เกิดในด้านการดำรงชีวิต และด้านการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาชีพประมงในพื้นที่ ที่มีวิถีชีวิตและใช้ประโยชน์ตลิ่งริมทะเลในการประกอบอาชีพ ข้อค้นพบในครั้งนี้ได้สนับสนุนในการนำเสนอทางเลือกในการจัดการปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยแบบผสมผสานโดยคำนึงถึงเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเลี้ยวเบนของคลื่น ร่วมกันกับการทำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่อันทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders' Shared Responsibilities)

References

Kahangirwe, P., & Vanclay, F. (2021). Evaluating the effectiveness of a national environmental and social impact assessment system: lessons from Uganda. Impact Assessment and Project Appraisal, 40(1), 75–87. doi: 10.1080/14615517.2021.1991202

Saengsupavanich, C. (2013). Erosion protection options of a muddy coastline in Thailand: Stakeholders' shared responsibilities. Ocean & Coastal Management, 83, 81-90. doi: 10.1016/j.ocecoaman.2013.02.002

Saengsupavanich, C., & Pranzini, E. (2023). The 2021-procedure for coastal protection by revetments in Thailand. Journal of Applied Water Engineering and Research, 11(2), 303-316. doi: 10.1080/23249676.2022.2110529

Toimil, A., Camus, P., Losada, I. J., Le Cozannet, G., Nicholls, R. J., Idier, D., & Maspataud, A. (2020). Climate change-driven coastal erosion modelling in temperate sandy beaches: Methods and uncertainty treatment. Earth-Science Reviews, 202,(103110). doi: 10.1016/j.earscirev.2020.103110

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). สถานภาพการกัดเซาะชายฝั่ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 จาก https://km.dmcr.go.th/c_55/d_19692.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2557). สถานการณ์ชายฝั่งและการจัดการปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งจากอดีตถึงปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 1, ปทุมธานี: บริษัท วิสุทธิ คอนซัลแตนท์ จำกัด.

เทศบาลตำบลสทิงพระ. (2564). ข้อมูลงานทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.2564. สงขลา: เทศบาลตำบลสทิงพระ.

ธนพล พินิจ. (2564). แนวทางการจัดการปัญหาชายฝั่งทะเลกัดเซาะอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ศึกษา: ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ: สุวีริยาสาสน์.

บุศวรรณ บิดร เสรี จันทรโยธา และณฐมน พนมพงศ์ไพศาล. (2561). การติดตามผลกระทบทางโครงสร้างวิศวกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในประเทศไทย. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐพล รุ่งโรจน์เจริญผล และสมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง. (2563). แนวทางเลือกเพื่อการปรับปรุงปากร่องน้ำสะกอม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28,(9), 1703-1716.

วารุณี หาญวันนา. (2558). ผลกระทบด้านสังคมและแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล: กรณีศึกษา ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วุฒิพงศ์ กิตติธเนศวร. (2563). แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 62,(3), 65-79.

สงกรานต์ กลมสุข อาทิตยา มาลีเลส และฆีรพัทร ตั้งศรีวงษ์. (2566). แนวทางการรับมือและปรับตัวของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8,(1), 217-228.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-14

How to Cite

จิราภรณ์วารี อ., & หนุมาศ ว. (2024). ผลกระทบทางสังคม: เสียงสะท้อนจากคนในชุมชนโครงการก่อสร้างเขื่อน ป้องกันตลิ่งริมทะเลพื้นที่ชายฝั่งหาดมหาราช อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ, 4(2), 22–35. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1449