การพยาบาลป่วยที่ได้รับการจัดแนวกระดูกสันหลังและผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด
คำสำคัญ:
Nursing care, scoliosis patients, surgery, on halo gravityบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นกรณีศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น และ 2) เพื่อให้ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดได้รับการพยาบาลอย่างถูกต้องเหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และมีความพิการน้อยลง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในผู้ป่วยเป็นเด็กหญิงไทย อายุ 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชวิถี ด้วยการวินิจฉัยโรคแรกรับของแพทย์ในอาการ Severe Adolescent Idiopatic Scoliosis และแพทย์ให้การวินิจฉัยครั้งสุดท้าย ว่าเป็น Severe Adolescent Idiopatic Scoliosis แพทย์ทำการรักษาโดยการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง ก่อนการผ่าตัดแพทย์ให้ทำ on halo gravity traction เพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้น หลังการผ่าตัดแพทย์ให้นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อการดูแลรักษาต่อเนื่อง เป็นเวลา 50 วัน เพื่อทำกายภาพบำบัด และฟื้นฟูสภาพ โดยมีพยาบาลให้การดูแลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาลของแพทย์
ผลการพยาบาลผู้ป่วย พบว่า 1) ก่อนการ on halo gravity traction ผู้ป่วยได้รับยาแก้ปวดและมีอาการปวดสันหลังน้อยลง ผลการทำ pelvic traction มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีความเข้าใจและยอมรับในแผนการรักษา ผู้ป่วยและญาติได้ลงนามในเอกสารยินยอมให้การผ่าตัด 2) ขณะ on halo gravity traction ผู้ป่วยไม่มีอาการชาหรืออ่อนแรง สามารถอ้าปากและกลอกลูกตาได้ มีอาการปวดสันหลังน้อยลงเมื่อได้รับยา morphine และพาราเซตามอล ไม่มีแผลกดทับ ไม่มีเชื้อราตามผิวหนัง แขนและขามีกำลังดี กล้ามเนื้อไม่ลีบและไม่มีข้อติด 3) ก่อนการผ่าตัด PSF T3-L3 with IONM ผู้ป่วยมีความรู้มีความเข้าใจในการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัดและยอมรับในการผ่าตัด 4) หลังการผ่าตัด PSF T3-L3 with IONM ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธี General Anesthesia รู้สึกตัวดี ไม่มีแผล ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน อาการปวดทุเลาลง กำลังแขน-ขาดี ไม่มีอาการชาหรืออ่อนแรง ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน สามารถทำกิจวัตรประจำวันของตนเองบนเตียงได้ดีขึ้น เช่น การรับประทานอาหาร การล้างหน้าแปรงฟัน 5) การฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยสามารถออกกกำลังกายโดยการเกร็งกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อขา และกระดกข้อเท้าได้ แผลไม่มี discharge ไม่มีซึมและไม่มีไข้ และ 6) ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้านตามหลัก D-Method ผู้ป่วยและญาติเข้าใจในคำแนะนำ ตอบคำถามได้ถูกต้อง และสามารถบอกวิธีการปฏิบัติตัวได้ถูกต้องทุกข้อ
References
ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์. (ออนไลน์). ภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยรุ่น. หน่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง สถาบันออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลเลิดสิน. (25 พฤษภาคม 2567). เข้าได้ถึงจาก https://sst.rcost.or.th/th/public-knowledges/กระดูกสันหลังคด
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพ. (ออนไลน์). กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis). (25 พฤษภาคม 2567). เข้าได้ถึงจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/may-2023/adolescent-idiopathic-scoliosis
หน่วยเวชระเบียนโรงพยาบาลราชวิถี. (2566). สถิติของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกในโรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ปี 2561 - 2566. โรงพยาบาลราชวิถี.
Gibson. (1995). The process of empowerment in Mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210.
Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.
Lazarus RS, Folkman S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer;
Orem, D.E. (2001). Nursing concepts of practice. (6th ed.). St Louis: Mosby, Inc.
Tang, S., Cheung, J. P., & Cheung, P. W. (2024). Effectiveness of bracing to achieve curve regression in adolescent idiopathic scoliosis: a systematic review. The Bone & Joint Journal, 106(3), 286-292.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.