https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/issue/feed วารสารปราชญ์ประชาคม 2025-02-28T00:00:00+07:00 รศ.ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ j.scholarcom@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>ปัจจุบัน วารสาร "ปราชญ์ประชาคม" เปิดรับบทความวิจัย บทความวิชาการ ปี 3 ฉบับที่ 2 ระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน 2568</strong></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">วารสารปราชญ์ประชาคม</span> <span class="S1PPyQ">เปิดรับบทความตีพิมพ์ ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ </span><span class="S1PPyQ">กำหนดออกวารสาร ปีละ 6 ฉบับ ๆ ละ 10-25 บทความ</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">ฉบับที่ 1</span> <span class="S1PPyQ">มกราคม</span> <span class="S1PPyQ">-</span> <span class="S1PPyQ">กุมภาพันธ์ (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ 28 กุมภาพันธ์)</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">ฉบับที่ 2</span> <span class="S1PPyQ">มีนาคม - เมษายน (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ 30 เมษายน)</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">ฉบับที่ 3</span> <span class="S1PPyQ">พฤษภาคม - มิถุนายน (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ 30 มิถุนายน)</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">ฉบับที่ 4</span> <span class="S1PPyQ">กรกฎาคม - สิงหาคม (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ 31 สิงหาคม)</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">ฉบับที่ 5</span> <span class="S1PPyQ">กันยายน - ตุลาคม (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ 31 ตุลาคม)</span></p> <p class="_04xlpA direction-ltr align-start para-style-body"><span class="S1PPyQ">ฉบับที่ 6</span> <span class="S1PPyQ">พฤศจิกายน - ธันวาคม (เผยแพร่ทางเว็บไซต์ 31 ธันวาคม)</span></p> <p><strong>หมายเหตุ </strong>สำหรับบทความที่ลงตีพิมพ์ ตั้งแต่ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน) เป็นต้นไป หรือ Submission ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จะต้องชำระค่าลงทะเบียน บทความละ 2,800 บาท(สองพันแปดร้อยบาทถ้วน)</p> https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1747 ภาวะผู้นำผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 2025-02-07T13:10:40+07:00 ศิริธร คุ้มตีทอง siriton.kum@gmail.com ปนิดา เนื่องพะนอม siritonkumteethong@gmail.com ธันยนันท์ ทองบุญตา siritonkumteethong@gmail.com <p>บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 300 คน การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านความยืดหยุ่นและด้านความไว้วางใจ เท่ากัน รองลงมาคือ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการมีจินตนาการ และด้านการมีวิสัยทัศน์ ตามลำดับ และ 2) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ พบว่าในภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 เมื่อจำแนกตามเพศ และสถานภาพ พบว่า ไม่แตกต่างกัน</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1804 ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ กลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย 2025-02-22T15:20:08+07:00 ชญานิศ ประทุมรัตน์ chayanis.prathumrat@hotmail.com สุชาติ ปรักทยานนท์ chayanis.prathumrat@hotmail.com บุรพร กำบุญ chayanis.prathumrat@hotmail.com ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล chayanis.prathumrat@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลทางตรงและทางอ้อมต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย และ 3) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยโปรแกรมลิสเรล</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านเครือข่ายความร่วมมือ การจัดการสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน แรงผลักดันทางธุรกิจ การฝึกอบรมและพัฒนา มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดล ผลการวิเคราะห์มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit) 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย ได้แก่ เครือข่ายความร่วมมือ การจัดการสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน แรงผลักดันทางธุรกิจ การฝึกอบรมและพัฒนา และ 3) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนำเข้าและส่งออกในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กันเมื่อพิจารณาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรของการปรับโมเดล</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1746 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 2025-02-19T10:44:16+07:00 ขวัญฤดี ปานพิม panpim.khuan@gmail.com เฉลิมชัย หาญกล้า bbaifern.224@gmail.com ภูวดล จุลสุคนธ์ ิbbaifern.224@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 328 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 พบว่า จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดโรงเรียนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน</p> <p> </p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1683 สันติภาพกับพุทธศาสนา: การพิจารณาเชิงแนวคิดจากมุมมองของโยฮัน กัลตุง 2025-02-07T14:33:25+07:00 ณัฐพล จารัตน์ natthaphon.jarat@outlook.com <p>บทความนี้วิเคราะห์บทบาทของพุทธศาสนาในการสร้างสันติภาพผ่านกรอบแนวคิดของโยฮัน กัลตุง โดยเปรียบเทียบแนวคิดของพุทธศาสนาและกัลตุง พุทธศาสนาเน้นสันติภาพภายในผ่านการลดกิเลสและพัฒนาจิตใจ ซึ่งเป็นรากฐานของสันติภาพภายนอก ขณะที่กัลตุงเสนอแนวคิดสันติภาพเชิงบวกโดยการลดความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม และสำรวจความเป็นไปได้ในการบูรณาการแนวคิดทั้งสองเพื่อพัฒนาสันติภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม</p> <p> โดยพบว่าพุทธศาสนามีข้อจำกัดในบริบทสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อน ขณะที่แนวคิดของกัลตุงช่วยเสริมให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างมิติทางจิตวิญญาณและสังคม นอกจากนี้ บทความนี้ได้พิจารณาถึงศักยภาพของพุทธศาสนาในการเป็นเครื่องมือแก้ไขความขัดแย้งและลดความรุนแรง พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดแข็งและข้อจำกัดของการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว การผสมผสานแนวคิดของกัลตุงและพุทธศาสนานำไปสู่กรอบวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับการสร้างสันติภาพในสังคมที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถนำไปใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในระดับประเทศและสากล</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1711 คุณสมบัติของผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 2025-02-13T16:50:38+07:00 ปรัชญา บุตรสะอาด butsaad16@gmail.com พระใบฎีกาชาญชัย อคฺคธมฺโม butsaad16@gmail.com <p>บทความทางวิชานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ การเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้นต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา ผู้นำ คือ ผู้ที่มีบุคลิกลักษณะคุณสมบัติเด่นกว่าผู้อื่นในกลุ่มและมีอิทธิพลมากกว่าบุคคลอื่นในหน่วยงาน ทั้งสามารถสร้างความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้เกิดขึ้นแก่หน่วยงานได้ ดังนั้น ผู้นำ จึงหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งรับบทบาทเป็นผู้บริหารประสานประโยชน์ในกลุ่มเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม มีอิทธิพลและอำนาจสามารถบังคับบัญชาบุคคลในกลุ่มให้ปฏิบัติงานจนบรรลุผลตามเป้าหมายที่องค์การกำหนดไว้ได้ พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญเกี่ยวกับตัวผู้บริหารหรือผู้นำในการบริหารนี้มาก ผู้นำจะต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้คือ จักขุมา คือ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมองสภาพเหตุการณ์ออกและจะวางแผนเตรียมรับหรือรุกได้อย่างไร วิธุโร คือ เป็นผู้ชำนาญในงานรู้จักวิธีการในหน้าที่ที่ตนได้รับผิดชอบ นิสสยสัมปันโน คือ เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีและได้รับความเชื่อถือจากผู้อื่น เข้าใจบุคคลหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1722 ทวารวดี เมืองนครปฐมโบราณ: ศึกษาและตีความทางสังคม 2025-02-07T14:38:32+07:00 มานพ นักการเรียน mnakkarreiyn@gmail.com พระมหาวีระชาติ โปธา mnakkarreiyn@gmail.com วิญญู กินะเสน mnakkarreiyn@gmail.com บานชื่น นักการเรียน mnakkarreiyn@gmail.com ฉัชศุภางค์ สารมาศ mnakkarreiyn@gmail.com <p>บทความนี้ศึกษาอาณาจักรทวารวดีในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ สังคมและศาสนา สุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์ พระอุตตรเถระ ผู้มาพร้อมกับพระโสณเถระ ได้กลายเป็นหลวงปู่เทพโลกอุดร และยังดำรงสังขารขันธ์อยู่เพื่อดูแลพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นอาณาจักรทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 โดยมีศูนย์กลางที่นครปฐมโบราณ มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างเมืองโบราณต่าง ๆ และมีการนับถือทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์</p> <p> กษัตริย์ทวารวดีได้ทรงดำเนินตามนโยบายธรรมวิชัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ปฏิบัติตามคติพระเจ้าจักรพรรดิในพระพุทธศาสนา แต่ก็ผสมผสานกับคติจักรพรรดิในศาสนาพราหมณ์ ทรงใช้รัฐประศาสโนบายในทางเศรษฐกิจ โดยไม่มีการเก็บภาษี จึงทำให้สังคมรัฐมีความมั่งคั่ง ความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ โดยมีธรรมวิชัยนั้นเป็นแกนหลักแห่งการปกครอง</p> <p> สังคมในทวารวดีจากภาพปูนปั้นและจารึกสะท้อนถึงการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ผู้คนสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านเมืองได้ เป็นสังคมของการทำบุญสร้างกุศลในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีการผสมผสานทางคติความเชื่อระหว่างพระพุทธศาสนา และความเชื่อดั้งเดิมเรื่อง “ผี” เป็นสังคมแห่งการมีความกตัญญูกตเวทีและการมีความเมตตา เป็นสังคมแห่งการบำเพ็ญทานบารมี โดยมุ่งไปที่ “มหาบริจาค” คือการบริจาคใหญ่ และเป็นสังคมที่มีเป้าหมายแห่งการปฏิบัติเพื่อให้สิ้นทุกข์สิ้นกิเลสอย่างสิ้นเชิง</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1750 ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย บริบทต่างประเทศ : กรณีศึกษา วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา 2025-02-07T14:49:57+07:00 ณัฐพัชร สายเสนา natthapat.s@chandra.ac.th ฐิติวัสส์ สุขป้อม natthapat.s@chandra.ac.th เริงวิชญ์ นิลโคตร natthapat.s@chandra.ac.th ณัฏฐกรณ์ ปะพาน natthapat.s@chandra.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาได้รับการสนับสนุนและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำหลักการ "ไตรสิกขา" (ศีล สมาธิ ปัญญา) มาใช้เป็นแนวทางหลักในการเผยแผ่และปฏิบัติธรรม ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านศีล การจัดกิจกรรมทางศาสนาและโปรแกรมอบรมที่เน้นการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมอเมริกัน 2. สมาธิ การฝึกจิตผ่านการเจริญสติและสมาธิได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติธรรมและสอนสมาธิทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและออนไลน์ และ 3. ด้านปัญญา มีการส่งเสริมการศึกษาพุทธธรรมผ่านการจัดสัมมนา บรรยาย งานวิจัย และการตีพิมพ์หนังสือ งานเขียนต่าง ๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนานี้ยังได้ประโยชน์จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศและการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ในท้องถิ่นช่วยให้พระพุทธศาสนาเข้าถึงและได้รับการยอมรับในวงกว้าง การปฏิบัติศีลเน้นการควบคุมกาย วาจา ใจ ซึ่งช่วยสร้างสังคมที่มีคุณธรรมและจริยธรรม การฝึกสมาธิเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคงและสงบสุข ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีในสังคมที่มีความเครียดสูง การส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านการเผยแผ่ธรรมะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในหลักธรรมและการสร้างสัมพันธภาพในสังคม การปรับตัวให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นส่งผลให้พระพุทธศาสนาเข้าถึงและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ทั้งนี้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยใช้หลักไตรสิกขาได้สร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง และการดำเนินชีวิตชาวพุทธในสหรัฐอเมริกา</p> 2025-02-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารปราชญ์ประชาคม