วิเคราะห์การใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • Sayyasin Vongsonepheth วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พรหมเรศ แก้วโมลา วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระราชเขมากร วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สื่อออนไลน์, การศึกษาพระธรรมวินัย, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระภิกษุสามเณร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์ในในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในสังคมไทยปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาสภาพบริบทและปัญหาของการใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ และ 3. เพื่อวิเคราะห์การใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

ผลการศึกษาพบว่า

  1. พระสงฆ์ในปัจจุบันใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพระพุทธศาสนาตามบทบาท และหน้าที่ ดังนี้ 1) ด้านการศึกษาพระธรรม ช่วยให้พระภิกษุได้เรียนรู้พระธรรมวินัยได้อย่างรวดเร็ว สะดวก 2) ด้านการนำความรู้ไปประพฤติปฏิบัติ โดยการค้นคว้าผ่านระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยนี้ในทันที 3) ด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทำให้การเผยแพร่อย่างทั่วถึง คลอบคลุม และรวดเร็ว 4) ด้านการปกป้องพระพุทธศาสนา การประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ การใช้สื่อออนไลน์ก็จะเป็นประโยชน์และไม่เกิดความเสียหายแก่วงการคณะสงฆ์
  2. สภาพบริบทของใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่มีการใช้สื่อประเภท YouTube (ยูทูบ) Facebook (เฟซบุ๊ก) Line (ไลน์) เป็นส่วนมาก และมีการใช้ Facebook (เฟซบุ๊ก) เป็นประจำมากที่สุด ในแต่ละวันใช้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง และส่วนใหญ่เพื่อการศึกษาและเพื่อการสื่อสาร ส่วนสภาพปัญหาพบว่า (1) การใช้ระบบเครือข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศภายในสถานศึกษาที่ขัดข้องบ่อยทำให้ใช้งานได้ไม่สะดวก (2) จำนวนผู้ดูแลและ บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อย (3) พระภิกษุสามเณร ขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการใช้งานด้านการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนการสอน และ (4) พระภิกษุสามเณรผู้เรียน ขาดแรงจูงใจในการศึกษาแบบออนไลน์
  3. ระดับการใช้สื่อออนไลน์ในการศึกษาพระธรรมวินัยและการเผยแผ่ของพระภิกษุสามเณรในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( equation= 3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนในการศึกษาพระธรรมวินัย อยู่ในระดับปานกลาง ( equation= 3.45) ด้านการศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัยผ่านการใช้สื่อออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง ( equation= 3.49) และด้านการเผยแผ่พระธรรมวินัยผ่านสื่อออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง (equation= 3.46)

References

ณัฐพล บัวอุไร.(2563) “ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนกร ธีระวุฒิชัยกิจ.(2562) “ปัจจัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการอ่านนวนิยายในกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยนเรศวร

นายอาทิตย์ หลวงละ.(2559) “การใช้เว็บไซต์เฟสบุ๊กทางอินเทอร์เน็ตของพระสงฆ”. วิทยานิพนธ์วารสาร

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. (คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูสมุห์มานิตย์ ญาณธโร.(2564). อ้างใน วรัญญา เดชพงษ์ และ นริศรา ไม้เรียง. “อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้ของนักเรียนระดับชันมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน. ปีที่ 25.

พระมหาธนิต สิริวฒฺฑโน.(2562) “รูปแบบและกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. ปีที่ 15.

พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท.(2561) “การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอักขราภิศุทธิ์ สิริวฑฺฒโน ลูนละวัน ดร.(2560) “กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูริทัต ศรีอร่าม.(2563) “แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา”. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, ปีที่ 5.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล.(2556) “เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน”. Princess of Naradhiwas University Journal. ปีที่ 5.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2565) สื่อส้งคม-เครือข่ายสังคม. [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4357.

วิยะดา ฐิติมัชฌิมา.(2565) “เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม”.วารสารนักบริหาร ปีที่ 30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-04-2025