การปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • Thongchan Vilaiphone วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รวีโรจน์ ศรีคำภา วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสมุห์อนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความปกติใหม่, การปรับตัว, รูปแบบ, การครองตนของพระสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “การปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท” โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยเกี่ยวกับการครองตนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3. เพื่อเสนอแนวทางการปรับตัวสู่ความปกติใหม่ของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบันเป็นการวิจัยแบบวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. การครองตนของพระสงฆ์เพื่อให้เข้าหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ เพื่อให้ปลอดภัยจากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ควบคู่ไปกับความพยายามรักษา และมีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรม ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ได้กลายเป็นความปกติใหม่ จนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทำให้เกิดความคุ้นชินจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตปกติของผู้คนในสังคม การครองตนของพระสงฆ์ในอดีตกาลนั้นพระสงฆ์ท่านจะอยู่อย่างเรียบง่ายตามแบบจารีตประเพณีดั้งเดิม อันมีรูปแบบที่มีความเคร่งครัด และมีการปฏิบัติตามอาจารย์ที่พาปฏิบัติ
    ในขณะเดียวกันในปัจจุบันนั้น พระสงฆ์ส่วนใหญ่จะต้องปฏิบัติตามข้อวัตรและกิจของสงฆ์จากนั้นก็จะเป็นการศึกษาเล่าเรียน ทำให้พระสงฆ์มีภาระหน้าที่เพิ่มจากในอดีตและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและช่วยเหลือสังคม สิ่งเหล่านี้คือบทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบัน
  2. การจะดำรงความเป็นพระสงฆ์ที่เรียกว่าการครองตนให้อยู่ในสมณะสารูป โดยเอาหลักของปาราชิก 4 มาเป็นกรอบของการครองตนที่สำคัญที่สุดประการแรก คือ การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอดชีวิต เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด โดยละเว้นจากการเสพเมถุนธรรม และการละเว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ แม้เพียงทรัพย์เท่ากับห้ามาสกขึ้นไป และการพรากกายมนุษย์ หรือ
    การฆ่าชีวิตของผู้อื่น และการกล่าวอวดอุตริมนุสธรรม โดยการกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เป็นจริง ซึ่งเป็นปาราชิก คือสิกขาบทข้อสี่ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ หากพระภิกษุสงฆ์รูปใดล่วงละเมิดก็จะขาดจากการเป็นพระสงฆ์ทันที
  3. การครองตนตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนานั้นมีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่ง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง และสามารถดำเนินชีวิตลักษณะที่เป็นทั้งสัมมาชีพและสัมมาปฏิบัติได้
    เพื่อความสงบสุขของโลกและสังคมส่วนรวม รวมทั้งเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมและพัฒนามนุษย์ให้มีทั้งความดี ความงาม และความรู้ ทางด้านกาย จิตใจ ปัญญา จนถึงความหลุดพันจากความทุกข์ทั้งมวลได้อย่างถูกต้องและมีแบบแผนที่ดีงาม และสามารถเป็นแนวการปฏิบัติสืบต่อไป

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ, (2539). พุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทต้นอ้อแกรมมี่จำกัด.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2536). “การปรับตัวและการร่วมมือกันในสถานการณ์โควิด-19 ตามแนวพุทธศาสน์”. วารสาร บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์.

ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ. (2559). พระไตรปิฎกวิเคราะห์ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 5. พิษณุโลก : บริษัทโฟกัส ปริ้นตริ้ง จำกัด.

พระครูปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน และพระปัญญารัตนากร, (2563). “การดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมในยุคโควิด 19”. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

พระครูวรดิตถ์ธรรมาภรณ์ และคณะ. “แนวทางการปรับตัวการบริโภคปัจจัย 4 ของพระสงฆ์เขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม”. Journal of Modern Learning Development.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-04-2025