ศึกษาแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนในชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • พระครูไพโรจน์ปรีชากร วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระใบฎีกาศักดิธัช แสงธง วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พรหมเรศ แก้วโมลา วิทยาลัยสงฆ์แพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การรักษาศีล 5, ชุมชนแม่ยางกวาว

บทคัดย่อ

บทความเป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “ศึกษาแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนในชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างแรงจูงใจ
ในการรักษาศีล 5 ตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของประชาชนในชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนชุมชนแม่ยางกวาว อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การศึกษาภาคสนามจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน
แล้วนำมาวิเคราะห์ประกอบเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า

  1. แรงจูงใจตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีจิตวิทยาชั้นสูงในการสอน พระพุทธเจ้าทรงเข้าพระทัยอัธยาศัยของผู้ฟังจึงทรงสามารถเลือกวิธีการต่าง ๆ ตรงกับพื้นฐานเดิมของผู้นั้น และทรงชี้แนวทางพุทธวิธีสร้างแรงจูงใจในการรักษาศีล 5 มี 4 พุทธวิธี (1) การใช้อภิญญาและแรงจูงใจภายใน
    (2) การสร้างแรงจูงใจมุ่งสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา, (3) การสร้างแรงจูงใจโดยชี้ให้เห็นโทษการละเมิดศีล และ
    (4) การสร้างแรงจูงใจโดยจุดหมาย
  2. จากการศึกษา พบว่า ประชาชนไม่ได้รักษาศีล 5 อยู่เป็นประจำ แต่มีช่วงเวลาในการรักษาศีล 5 ตามวาระสำคัญ และส่วนใหญ่ประชาชนไม่สามารถรักษาศีล 5 ได้ครบทุกข้อ รวมทั้งการรักษาศีลแบบเข้มงวดนั้นไม่สามารถทำได้ ในส่วนปัญหาและอุปสรรคของการรักษาศีล 5 ของประชาชนส่วนใหญ่ พบว่า
    ด้านการประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยในการทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่เอื้อต่อการรักษาศีลให้ครบทุกข้อได้ ด้านการเสพสื่อออนไลน์ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก และการรับข้อมูลข่าวสารจริงหรือเท็จ และ
    ด้านสถานที่ที่มีผลต่อการรักษาศีล ชี้ให้เห็นว่าวัดเอื้อต่อการรักษาศีลได้ดี แต่ที่บ้านหรือที่ทำงานสามารถควบคุมและรักษาศีลได้ยาก
  3. การวิเคราะห์แรงจูงใจในการรักษาศีล 5 ของประชาชนชุมชน ประกอบด้วยแรงจูงใจ 2 ประเภท คือ 1) แรงจูงใจภายนอก ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ (1) แรงจูงใจจากวัดและพระสงฆ์ (2) แรงจูงใจ
    จากจารีตประเพณี (3) แรงจูงใจจากโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และ (4) แรงจูงใจจากสื่อและโฆษณา
    ในส่วน 2) แรงจูงใจภายใน ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่ดี คือ ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่สะท้อนจากความรู้และอานิสงส์รวมไปถึงโทษที่เกิดจากการละเมิดที่เป็นบาปอกุศลธรรมจากศีล 5 ทำให้มีความรู้ความเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติกุศลธรรม (ธรรมะฉันทะ) จนสามารถพัฒนาตนเองได้

References

ณัฐพล บัวอุไร.(2563) “ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนกร ธีระวุฒิชัยกิจ.(2562) “ปัจจัยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการอ่านนวนิยายในกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. (คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยนเรศวร

นายอาทิตย์ หลวงละ.(2559) “การใช้เว็บไซต์เฟสบุ๊กทางอินเทอร์เน็ตของพระสงฆ”. วิทยานิพนธ์วารสาร

ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน. (คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูสมุห์มานิตย์ ญาณธโร.(2564). อ้างใน วรัญญา เดชพงษ์ และ นริศรา ไม้เรียง. “อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการพัฒนาความรู้ของนักเรียนระดับชันมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน. ปีที่ 25.

พระมหาธนิต สิริวฒฺฑโน.(2562) “รูปแบบและกระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. ปีที่ 15.

พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท.(2561) “การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอักขราภิศุทธิ์ สิริวฑฺฒโน ลูนละวัน ดร.(2560) “กระบวนการสื่อสารพุทธธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูริทัต ศรีอร่าม.(2563) “แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารและเผยแผ่พระพุทธศาสนาสำหรับพระภิกษุ-สามเณรในจังหวัดฉะเชิงเทรา”. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, ปีที่ 5.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล.(2556) “เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน”. Princess of Naradhiwas University Journal. ปีที่ 5.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2565) สื่อส้งคม-เครือข่ายสังคม. [ออนไลน์], แหล่งที่มาhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=4357.

วิยะดา ฐิติมัชฌิมา.(2565) “เครือข่ายสังคมออนไลน์: แนวโน้ม ปรากฏการณ์ และจริยธรรม”.วารสารนักบริหาร ปีที่ 30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-04-2025