วารสารวิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams <p><strong>วารสารวิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์</strong></p> <p><strong>ISSN</strong> 3057-0689 (Online) </p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในสาขาวิทยาการจัดการทุกศาสตร์ เช่น สาขาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด สาขาทรัพยากรมนุษย์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ สาขาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม และสาขาบัญชี เป็นต้น</p> <p><strong>นโยบายด้านการคัดลอกผลงาน (</strong><strong>Plagiarism) และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)</strong> ทางวารสารฯ รับเฉพาะบทความที่มีคุณภาพทางด้านวิชาการและไม่มีปัญหาด้านการคัดลอกผลงาน เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ เท่านั้น รวมถึงไม่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการเขียนบทความ โดยทางกองบรรณาธิการวารสารฯ จะใช้การตรวจสอบด้านการคัดลอกผลงานด้วยอักขราวิสุทธิ์ในเบื้องต้น และอาจใช้โปรแกรมอื่น ๆ เพิ่มเติม</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาคุณภาพของบทความ </strong>บทความที่ผ่านการพิจารณาในขั้นตอนการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการของวารสารฯ จะพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินคุณภาพของบทความดังกล่าว จำนวน 3 คน โดยใช้ระบบ Double-blind peer review (ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความไม่ทราบชื่อของผู้แต่งบทความ และผู้แต่งบทความไม่ทราบชื่อของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong>ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> th-TH ms.jamsjournal@gmail.com (ดร.ปาณิสรา คงปัญญา (Dr.Panisra Kongpanya)) kanya.say@pcru.ac.th (กัญญา สายสิงห์เทศ (Ms.Kanya Saysingtes))) Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสื่อสารประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นเกษตรพื้นถิ่นของมะขามหวานเพชรบูรณ์ผ่านสื่อกิจกรรมในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1932 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสื่อสารประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นเกษตรพื้นถิ่นของมะขามหวานเพชรบูรณ์ผ่านสื่อกิจกรรมในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ประจำปี 2567 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) กิจกรรมในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์เฉพาะส่วนที่นำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับมะขามหวานเพชรบูรณ์ 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการประกวดผลผลิตมะขามหวาน 2) กิจกรรมการประกวดขบวนรถมะขามหวาน และ 3) กิจกรรมตลาดนัดมะขามหวาน วิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบของกิจกรรมในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ลักษณะภายนอกมะขามหวาน 2) ลักษณะภายในมะขามหวาน 3) แนวคิดการทำสวนมะขามหวาน 4) การบริหารจัดการสวนมะขามหวาน 5) การประดับตกแต่งขบวนรถมะขามหวาน 6) การแสดงประกอบขบวนรถมะขามหวาน 7) การตกแต่ง ร้านจำหน่ายมะขามหวาน และ 8) การสื่อสารให้ข้อมูลของเจ้าของร้าน/เจ้าของสวนมะขามหวาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า สื่อกิจกรรมในงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำหน้าที่สื่อสารประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นพืชเกษตรพื้นถิ่นของมะขามหวานเพชรบูรณ์ 3 ด้าน โดยเน้นการสื่อสารประกอบสร้างอัตลักษณ์ด้านสภาพภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติมากที่สุดด้วยเหตุปัจจัยทางด้านสภาพดิน ภูมิอากาศ และน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงการบริหารจัดการสวนมะขามหวานของเกษตรกรที่ดี ทำให้ผลผลิตมะขามหวานดีมีคุณภาพ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับด้านรสชาติหวานหอม ฝักใหญ่ และมีหลากหลายสายพันธุ์ รองมาเป็นการสื่อสารประกอบสร้างอัตลักษณ์ด้านองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่สะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ ความเชื่อ ประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรม กับการใช้ประโยชน์จากมะขามหวานเพชรบูรณ์ ส่วนการสื่อสารสารประกอบสร้างอัตลักษณ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีค่อนข้างน้อย สะท้อนให้เห็นว่าในกระบวนการผลิตมะขามหวานยังมีการพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมไม่มากนัก</p> รักชนก สมศักดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1932 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700