https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/issue/feed วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 2024-09-26T00:00:00+07:00 ดร.ปาณิสรา คงปัญญา ms.jamsjournal@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์</strong></p> <p><strong>ISSN</strong> 2672-9857 (Print) <strong>ISSN</strong> XXXX-XXXX (Online) </p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงในสาขาวิทยาการจัดการทุกศาสตร์ เช่น สาขาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ สาขาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม และสาขาบัญชี เป็นต้น</p> https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1508 พฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่น และปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่น ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-08-28T20:30:25+07:00 ฐิติมา ชัยเชิดชู s_ubonwan@srru.ac.th ณัฐฏวลัญช์ น้อยวงศ์ s_ubonwan@srru.ac.th สุดารัตน์ น้อยพรม s_ubonwan@srru.ac.th อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ s_ubonwan@srru.ac.th <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 357 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee ในการเลือกซื้อเสื้อแฟชั่น โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 201-400 บาทต่อครั้ง และเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ที่มีราคาถูก 2) ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการบริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านพนักงาน ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา ตามลำดับ และ 3) นักศึกษาที่มีอายุ คณะที่ศึกษาอยู่ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีระดับปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> 2024-10-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1500 บทบาทคั่นกลางของความพึงพอใจที่เชื่อมโยงคุณค่าที่รับรู้ไปสู่ความจงรักภักดีของคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2024-08-19T14:36:41+07:00 บวรลักษณ์ เงินมา bovornluk.nge@pcru.ac.th อดุลย์ศิริ สัตย์เจริญ Bovornluk.nge@pcru.ac.th ดอกอ้อ ขวัญนิน Bovornluk.nge@pcru.ac.th พิชยพิมพ์ คำเพียร bovornluk.nge@pcru.ac.th สาวิตรี วงศ์สุรเศรษฐ์ Bovornluk.nge@pcru.ac.th ปราณีต ใจหนัก Bovornluk.nge@pcru.ac.th <p class="JamsL05"><span lang="TH" style="letter-spacing: -.2pt;">การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ </span><span lang="TH">1) <span style="letter-spacing: -.2pt;">เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของคุณค่าที่รับรู้ ความพึงพอใจ ความจงรักภักดี ของคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเพชรบูรณ์</span> 2) <span style="letter-spacing: -.2pt;">เพื่อทดสอบบทบาทคั่นกลางของความพึงพอใจที่เชื่อมโยงคุณค่าที่รับรู้และความจงรักภักดี </span>และ </span>3<span lang="TH">) <span style="letter-spacing: -.2pt;">เพื่อ</span>ทดสอบตัวแปรกำกับของชื่อเสียงที่เชื่อมโยงคุณค่าที่รับรู้และความจงรักภักดี <span style="letter-spacing: -.2pt;">โดยการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน </span></span><span style="letter-spacing: -.2pt;">40<span lang="TH">0 คน แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า ระดับความสำคัญที่สูงสุดของปัจจัยที่ศึกษาของคลินิกเสริมความงามในจังหวัดเพชรบูรณ์ </span></span><span lang="TH" style="letter-spacing: -.1pt;">คือ </span><span lang="TH">ความพึงพอใจ <span style="letter-spacing: -.1pt;">รองลงมา คือ </span>ความจงรักภักดี<span style="letter-spacing: -.1pt;"> และ</span>คุณค่าที่รับรู้ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างพบว่า ความพึงพอใจเป็นปัจจัยคั่นกลางซึ่งเป็นปัจจัยที่จะเข้ามาแทรกแซงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงคุณค่าที่รับรู้ไปสู่ความจงรักภักดีแบบส่งผ่านแบบบางส่วนและชื่อเสียง<span style="letter-spacing: -.3pt;">เป็นตัวแปรกำกับอิทธิพลคุณค่าที่รับรู้ที่มีต่อความพึงพอใจ</span><span style="letter-spacing: .1pt;">โดยเป็นตัวแปรกำกับเพียงบางส่วน </span></span></p> 2024-10-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1435 ความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2024-07-10T13:02:43+07:00 กมลชนก แซ่จิว aing.sudaporn1995@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การทดสอบทีและการทดสอบเอฟที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมทั้ง 4 ด้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านอาคาร สถานที่ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านพนักงานจัดเก็บรายได้ และด้านการบริหารการจัดเก็บรายได้ ตามลำดับ ส่วนด้านนโยบายการจัดเก็บรายได้ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ประชาชน ที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้รับบริการในงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-11-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1469 ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษา น้ำตกโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2024-08-01T08:36:17+07:00 จักรพันธ์ แก้วสว่าง 651101006@tsu.ac.th ชัญญานุช แกล้วทนงค์ 651101008@tsu.ac.th พงศ์พัฒน์ จุลมณีโชติ 651101024@tsu.ac.th พรธิตา เพ็ชเส้ง 651101025@tsu.ac.th พลอยชมพู โมสิกรัตน์ 651101026@tsu.ac.th สิรภัทร กำแหง 651101043@tsu.ac.th จารุวรรณ ทองเนื้อแข็ง jaruwan.t@tsu.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษาน้ำตกโตนงาช้างและ (2) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษาน้ำตกโตนงาช้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 120 คน งานวิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตกโตนงาช้าง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อยู่ในระดับสูง โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในด้านสิ่งดึงดูดใจอยู่ในระดับสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงและการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ</p> 2024-11-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/jams/article/view/1492 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการร้านอาหารสุกี้ชาบูประเภทบุฟเฟต์ ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2024-09-18T10:39:59+07:00 กิตติพงศ์ ศิริพรหมพิทักษ์ 651101083@tsu.ac.th ศกานต์ อุปการสง 651101083@tsu.ac.th ณัฏฐ์กฤต เบญจพลพิทักษ์ 651101083@tsu.ac.th ธีรภัทร์ บุญชู 651101083@tsu.ac.th ศศธรศ์ศินภา มหาศาลเลิศพิพัฒน์ 651101083@tsu.ac.th ดนวัต สีพุธสุข 651101083@tsu.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการร้านสุกี้ชาบู ประเภทบุฟเฟต์ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ใช้บริการร้านสุกี้ชาบู จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 54.2 มีช่วงอายุ 21 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 44.2 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 44.2 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.0 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ 4.68 รองลงมา คือ ด้านภาพลักษณ์และการนำเสนอ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.65 และน้อยที่สุดคือด้านการส่งเสริมการขาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.49 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการร้านสุกี้ชาบูประเภทบุฟเฟต์ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า เพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความแตกต่างกันอย่าง<br />มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> 2024-11-11T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ วิทยาการจัดการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์