https://so12.tci-thaijo.org/index.php/djbid/issue/feed
วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา (Online)
2024-08-29T00:00:00+07:00
ดร.ภัทธิดา แรงทน
djbid.adm@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา (Online)<br /></strong><strong>Dhammadhara Journal of Buddhist Ideology for Development (DJBID)</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการให้กับคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจ รวมทั้งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลากหลายสาขา มีมุมมองเปิดกว้างในโลกวิชาการ ช่วยยกระดับผลงานให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ วารสารเปิดรับบทความในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ การบริหารการศึกษา การบริหารจัดการเชิงพุทธ พุทธจิตวิทยา รัฐประศาสนศาสตร์ รวมทั้งสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์<strong> </strong></p> <p><strong>กำหนดการออกเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ</strong> (เผยแพร่แบบออนไลน์)</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน<br />ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับพิจารณาการตีพิมพ์</strong></p> <p>บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความแปลภาษาต่างประเทศ<strong> </strong></p> <p><strong>กระบวนการตรวจสอบคุณภาพบทความ</strong></p> <p>- บทความทุกบทความ ต้องผ่านการตรวจและประเมินจากกองบรรณาธิการ<br />- บทความทุกบทความ ได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน<br />- บทความทุกบทความ ได้รับการตรวจและประเมินแบบปกปิดรายชื่อ (Double Blinded)<br />- บทความต้องไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือกำลังอยู่ในระหว่างการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ยกเว้นบทความแปลภาษาต่างประเทศที่ผู้เขียนและสำนักพิมพ์ยินยอมให้แปลเป็นภาษาไทย<br />- บทความต้องไม่มีการคัดลอกมาจากผลงานของบุคคลอื่น</p>
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/djbid/article/view/1178
แนวทางการพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2024-06-26T13:56:29+07:00
พระมหาจตุรงค์ จิรฏฺฐิโต
jira072@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอ คือ 1) ศึกษาสภาพหลักความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาวิธีการพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ 3) เสนอแนวทางพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระเบียบวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยแจกแบบสอบถามพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 225 รูป และ แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1) สภาพหลักความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อยพบว่า หลักสูตร ครูผู้สอน การจัดการเรียนการสอน การใช้สื่ออุปกรณ์และการประสานงาน ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การวัดผลและการประเมินผล ตามลำดับ</p> <p> 2) วิธีการพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า สื่อและครูผู้สอน อยู่ในระดับดีมาก แต่ควรศึกษาเรื่องการทำสื่อช่วยสอนและเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆ สร้างรูปแบบที่หลากหลาย เพิ่มครูให้มีจำนวนเพียงพอ นำครูมารวมสอนในอำเภอเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาการขาดครูสอน</p> <p> 3) แนวทางพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านการวัดผลและประเมินผล งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ควรมีการทบทวนงบประมาณด้านการส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์อย่างจริงจังและเร่งด่วนเพื่อให้เพียงพอในการดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตและช่วยเหลือสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา (Online)
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/djbid/article/view/1197
แนวทางสร้างความสุขคนวัยทำงานด้วยหลักพุทธจิตวิทยา
2024-06-26T13:48:15+07:00
ปทิตตา วิเศษบุปผากุล
wisetbupha@gmail.com
รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
siriwat@mcu.ac.th
ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท
noonsuwat1@gmail.com
<p>ประชากรวัยทำงานเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นผู้นำครอบครัว เป็นผู้ดูแลประชากรกลุ่มวัยต่าง ๆ ภายในครอบครัว แต่เนื่องจากภาวะการณ์แข่งขันที่สูง วิถีชีวิตเร่งรีบ ทำให้ขาดการละเลยดูแลสุขภาพของตัวเอง ประกอบกับความกดดันจากสภาพภายในตนและสภาพแวดล้อมรอบตัว ก่อให้เกิดความเครียดและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มวัยทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ และสุขภาพแข็งแรง ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งเสนอแนวทางการสร้างความสุขสำหรับคนวัยทำงานด้วยหลักพุทธจิตวิทยา<br />ผลการศึกษาพบว่า แนวทางสร้างความสุขคนวัยทำงานด้วยหลักพุทธจิตวิทยา เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความรู้ทางจิตวิทยา ความสุขของคฤหัสถ์ และหลักธรรมอริยสัจ 4 แนวทางนำไปประพฤติปฏิบัติ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพื่อเป็นแนวทางสร้างความสุข จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงและมั่นคงยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบด้วยความสุขทางปัญญาเป็นพื้นฐาน เนื่องจากความสุขทางปัญญา ทำให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เมื่อคนวัยทำงานยึดหลักธรรมอริยสัจ 4 ในการทำงาน การมีทัศนคติต่อตนเองเชิงบวก รับรู้ และยอมรับทั้งด้านดีและด้านไม่ดีของตนเอง รวมทั้งพึงพอใจชีวิตที่ผ่านมา ประเมินตนเองตามมาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้ ความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ เนื่องจากการมีวุฒิภาวะ การดำเนินชีวิตอย่างมีจุดหมาย มีความต้องการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดความสุขย่อมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ ก้าวผ่านได้ทุกปัญหาด้วยปัญญา เมื่อทำความเข้าใจวิเคราะห์ต้นเหตุ ย่อมนำพาไปพบความสุข บุคคลสามารถเสริมสร้างความสุขได้โดยการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ คือ รู้สึกพึงพอใจกับชีวิตให้มากขึ้น รู้และเข้าใจตนเอง ใส่ใจในสิ่งที่ทำและให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพและมิตรภาพ รวมทั้งการทำให้ชีวิตมีคุณค่า และมีความหมายมากขึ้นจนถึงผลลัพธ์ในชีวิตทั้งความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และแนวทางหลักพุทธจิตวิทยาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถจัดการความเครียด สลายความวิตกกังวล สร้างความสุขคนวัยทำงานได้</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา (Online)
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/djbid/article/view/1254
การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรมของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
2024-06-26T13:42:54+07:00
พระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี)
suphachaitivapee@gmail.com
ผศ. ดร.ระวิง เรืองสังข์
billionwings@gmail.com
รศ. ดร.สมศักดิ์ บุญปู่
boonpoo999@hotmail.com
<p>บทความนี้มุ่งนำเสนอการจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรมของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นแนวทางจัดการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียน และการบริหารจัดการให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและช่วยกันผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จด้วยความเต็มใจ <br />ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ได้แก่ 1) เมตตากายกรรม 2) เมตตาวจีกรรม 3) เมตตามโนกรรม 4) สาธารณโภคี 5) ศีลสามัญญตา และ 6) ทิฏฐิสามัญญตา กับองค์ประกอบการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 5 ด้าน ได้แก่ นโยบาย การบริหาร บุคลากร วิชาการ และการเงิน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรเป็นด้านหลัก คือ ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ นักเรียน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการนำหลัก สารานียธรรม 6 ในการบริหารจัดการงาน ตนเอง และการประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดี มีวาจาสุภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ รับฟังความเห็นของผู้อื่น เสียสละ แบ่งปัน ทำงานเป็นทีม ปฏิบัติตามระเบียบกติกาขององค์กร มีเป้าหมาย และร่วมกันปฏิบัติงานจนบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างราบรื่น</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา (Online)
https://so12.tci-thaijo.org/index.php/djbid/article/view/1409
การบูรณาการการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ทางจิตใจ ด้วยวิถีพุทธจิตวิทยา
2024-07-08T15:22:30+07:00
สายันต์ ขันธนิยม
sunsayun@gmail.com
รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
siriwat@mcu.ac.th
ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
witchuda.mcu@gmail.com
<p>บทความนี้นำเสนอแนวทางการบูรณาการการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ทางจิตใจด้วยวิถีพุทธจิตวิทยา เป็นการช่วยเหลือที่เกิดจากสัมพันธภาพของบุคคลอย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ให้การปรึกษาและผู้รับการปรึกษา เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม การให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพในทางพระพุทธศาสนามีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจ สามารถตัดสินใจ และยอมรับตนเองในด้านต่าง ๆ จนเกิดความตระหนักถึงความต้องการของตนเองเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสุขภาพจิต ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา<br />การบูรณาการการให้คำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ทางจิตใจด้วยวิถีพุทธจิตวิทยา เป็นการบูรณาการระหว่างจิตวิทยาการให้คำปรึกษากับคำสอนทางพระพุทธศาสนา ให้ผู้รับการปรึกษาได้รู้จักความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างรู้เท่าทันความทุกข์นั้น การประยุกต์ศาสตร์แห่งการให้คำปรึกษาเชิงพุทธนี้ คือ การนำองค์ความรู้ 6 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การปฏิสันถารด้วยจิตเมตตา ขั้นตอนที่ 2 การสนทนาอย่างเป็นกัลยาณมิตร ขั้นตอนที่ 3 การพินิจรู้ทุกข์ ขั้นตอนที่ 4 การชี้ชวนให้เห็นและเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ ขั้นตอนที่ 5 การนำพาให้บังเกิดสุขภายใน และ ขั้นตอนที่ 6 การให้แนวทางดำเนินชีวิตด้วยมรรควิธี นำมาบูรณาการร่วมกันกับหลักอริยสัจ 4 คือ การรู้ทุกข์ การรับรู้ปัญหาตนเอง สาเหตุปัญหาของความทุกข์ การรู้เป้าหมายในการแก้ไข และหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เรียกอีกอย่างว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย 1) สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ 2) สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ 3) สัมมาวาจา การเจรจาชอบ 4) สัมมากัมมันตะ การงานชอบ 5) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ 6) สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ 7) สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ 8) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและเสริมสร้างวิถีในการดำเนินชีวิต</p>
2024-08-29T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา (Online)