วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP <p> <strong> วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่</strong> ISSN 2822-1095 (Online) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2566 โดยสถาบันส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด็อกเตอร์เกษ ประเทศไทย จัดพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ (2 เดือนต่อหนึ่งฉบับ)</p> <p>-ปรากฏในฐานข้อมูล google scholar ตั้งแต่ปี 2023</p> <p>-ตัวระบุวัตถุดิจิทัล (DOIs) ได้รับการระบุในฐานข้อมูล DataCite (https://search.datacite.org/works?query=DR.KET)</p> <p>-วารสารกำลังพัฒนาปรับปรุงรูปแบบและประเด็นหลักเพื่อเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI เพื่อรองรับการประเมินจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย</p> th-TH [email protected] (สถาบันส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด็อกเตอร์เกษ) [email protected] (Dr.Ketsada Phathong) Sun, 03 Mar 2024 18:54:25 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตจังหวัดมหาสารคาม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP/article/view/924 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาในเขตจังหวัดมหาสารคาม ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 370 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าความถี่ และค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า: 1) การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านฉันทะ ด้านวิมังสา ด้านวิริยะ และด้านจิตตะ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร X<sub>2</sub> ด้านลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย X<sub>1</sub> ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .322 และ -.249 ตามลำดับ และ <br />3) จำเป็นต้องใช้หลักฉันทะความพอใจในการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของการศึกษา โดยบุคลากรมีส่วนในการจัดทำแผนการปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับแผน ทั้งการใช้หลักวิริยะความเพียรเข้ามาใช้ในการประเมินสถานการณ์ก่อนการปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ การนำหลักจิตตะในการคิดริเริ่มในการเชื่อมโยงโครงการ มีการประเมิน ติดตามตรวจสอบและการใช้หลักวิมังสา ความไตร่ตรองเข้ามาปรับใช้ในการผลการดำเนินงานของบุคลากรทางการศึกษาอย่างเหมาะสมในการนำมาพิจารณาไตร่ตรองของบุคลากรอย่างรอบครอบ</p> พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ (เรืองเดช), บุญเพ็ง สิทธิวงษา, กนกอร บุญมี Copyright (c) 2024 วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP/article/view/924 Thu, 29 Feb 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการประยุกต์หลักการ Lean ในการบริหารงานพัสดุ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP/article/view/1008 <p><strong> </strong>การบริหารงานพัสดุเป็นส่วนสำคัญในองค์กรที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและความสูญเปล่าให้น้อยลงหรือหมดไป หลักการ Lean เป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมในการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจทั่วโลก ซึ่งหลักการ Lean เป็นกระบวนการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ ลดความสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เป็นการสร้างระบบการทำงานในการใช้แผนภูมิกระบวนการ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารงานพัสดุ และตรวจสอบขั้นตอนที่ไม่มีความเป็นมูลค่าเพื่อแก้ไขและปรับปรุง ส่งเสริมการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารงานพัสดุ ในการจัดลำดับการปฏิบัติงานใหม่เพื่อลดระยะเวลาในกระบวนการ การเตรียมพร้อมพัสดุล่วงหน้าเพื่อลดเวลาการส่งมอบ และการตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรในองค์กรที่เปลี่ยนแปลงได้ มีการพัฒนาความสามารถของบุคลากรที่เน้นการพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อให้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาและดำเนินงานในลักษณะ Lean ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำหลักการและเครื่องมือลีนมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการจัดซื้อไม่เพียงแค่ทำให้การจัดซื้อได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ยังทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้รวดเร็วขึ้น โดยเป็นการมุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่าเพื่อลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า รวมไปถึงลดระยะเวลา และลดจำนวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการดำเนินงาน อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานโดยรวม ดังนั้นการประยุกต์หลักการ Lean ในการบริหารงานพัสดุจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความมั่นคงและความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ</p> ณัชชา ณัฐโชติภคิน Copyright (c) 2024 วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP/article/view/1008 Thu, 29 Feb 2024 00:00:00 +0700 ชาติและประชาชนในยุคดิจิทัล https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP/article/view/1017 <p>ในสังคมประชาธิปไตย มีความเป็นจริงของสังคมที่เต็มไปด้วยความคิดเห็นที่แตกต่าง ในอดีตความต่างจะเป็นเรื่องเพศสภาพ ชนชาติ ศาสนา ความเชื่อ แต่ในวันนี้เกิดความแต่กต่างระหว่างวัยในชุดความคิดเกี่ยวกับการตีความหมายเรื่อง “ชาติ” ที่ไม่ตรงกันด้วยความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันนี้เอง บ่อยครั้งจึงกลายเป็น “ชนวน” ที่นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ลงรอยกัน และบางครอบครัวก็ถึงขั้นลอยแพ ตัดขาดลูกหลานที่ “เห็นต่าง” ไปจากตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่เราพยายามเข้าใจความขัดแย้งระหว่างวัย เรื่องของ เจเนอเรชัน จึงมักถูกหยิบยกขึ้นมาอธิบายอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเราเชื่อว่า ยุคสมัยมีส่วนหล่อหลอมตัวตน ความคิด และความเป็นเรา ไม่มากก็น้อย ซึ่งคนต่างเจเนอเรชันก็ย่อมมีความคิด/ความเชื่อพื้นฐานบางอย่างที่ “ต่างกัน” เป็นธรรมดา การทำความเข้าใจในแต่ละช่วงวัย จึงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสังคม เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะเคารพความรู้สึกของคนในสังคมเดียวกันที่มีความหลากหลายช่วงวัย ว่าไม่ได้เหมือนกับเราทุกคน จึงเป็นการเรียนรู้ที่จะเคารพความรู้สึกของมนุษย์ด้วยกันจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันได้</p> พระมหาวีระชาติ ปิยวณฺโณ , พระมหาธนภัทร อภิชาโน, บานชื่น นักการเรียน Copyright (c) 2024 วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/MADPIADP/article/view/1017 Thu, 29 Feb 2024 00:00:00 +0700