การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา ในเขตจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ (เรืองเดช) โรงเรียนการกุศลวัดหนองแวง จังหวัดขอนแก่น
  • บุญเพ็ง สิทธิวงษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • กนกอร บุญมี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การใช้หลักอิทธิบาท 4, การปฏิบัติหน้าที่, บุคลากรทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาในเขตจังหวัดมหาสารคาม ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 370 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าความถี่ และค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า: 1) การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านฉันทะ ด้านวิมังสา ด้านวิริยะ และด้านจิตตะ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านนโยบายและการบริหาร X2 ด้านลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย X1 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .322 และ -.249 ตามลำดับ และ
3) จำเป็นต้องใช้หลักฉันทะความพอใจในการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของการศึกษา โดยบุคลากรมีส่วนในการจัดทำแผนการปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับแผน ทั้งการใช้หลักวิริยะความเพียรเข้ามาใช้ในการประเมินสถานการณ์ก่อนการปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ การนำหลักจิตตะในการคิดริเริ่มในการเชื่อมโยงโครงการ มีการประเมิน ติดตามตรวจสอบและการใช้หลักวิมังสา ความไตร่ตรองเข้ามาปรับใช้ในการผลการดำเนินงานของบุคลากรทางการศึกษาอย่างเหมาะสมในการนำมาพิจารณาไตร่ตรองของบุคลากรอย่างรอบครอบ

References

กานดา คำมาก. (2555). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

บุษบา ชมที. (2566). การศึกษาและการวิเคราะห์หลักอิทธิบาท 4 กับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พุทธทาสภิกขุ. (2537). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). (พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระถวิล ยสินฺธโร (แสงสุด). (2564). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระสมุห์พงศธร ปภงฺกโรและคณะ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 การบริหารงานของเทศบาลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 241-254.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา และคณะ. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2459-2480.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี. บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Sittivongsa B., Phrakhrusutaworathammakit, Saengchawek A., Pattanasing T., and Kenaphoom S.. (2021). Effectiveness of Foundation Virtues for Performing of Personnel’s Provincial Administrative Organization in the Northeast, Thailand, Annals of R.S.C.B., 25(6), 2021, 2999 - 3005.

Good. (2006). Integrating the Individual and the Organization. Wiley, New York.

Getzels, J. W., and Guba, E. G. (1957). “Social Behavior and Administrative Process,” School Review. 65, 423-441.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York.Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29