การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภา เทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • บัญชา เสนุภัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ของประชาชนต่อการเลือกตั้งฃ, สมาชิกสภาเทศบาลตำบลทองผาภูมิ

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี โดยเปรียบเทียบเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ ที่แตกต่างกัน เพื่อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 320 คน โดยวิธีการเปิดตารางสำเร็จของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่าด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งและด้านการติดตามตรวจสอบการเลือกตั้งอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งคือไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะเป็นหน้าที่ของพลเมือง รองลงมาคือไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะกลัวจะเสียสิทธิทางการเมือง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเพราะผู้สมัครมีความรู้ความสามารถ และด้านการติดตามตรวจสอบการเลือกตั้งพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือมีส่วนร่วมตรวจสอบ ติดตาม พฤติกรรมของคณะกรรมการการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล รองลงมาคือมีส่วนร่วมประชุม วางแผน ติดตาม ตรวจสอบ เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล  และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือมีส่วนร่วมตรวจสอบคุณสมบัติผู้รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล                                     

References

นิภา เมธธาวิชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดลองทางการศึกษาและจิตวิทยา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ล้วน สายยศ และ อังคณาสายยศ. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2547). การวิจัย. นครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2548). หนังสือรวมกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศและคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น จำกัด (มหาชน).

ธนากร อึ้งอัมพรวิไล. (2563). ปัจจัยในการเลือกนักการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตตำบลบางกะดี. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภัส เล็กเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนัส รสโหมด. (2563). ปัจจัยในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องอาจ จัตุกูล. (2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. ใน ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-29