พฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคลและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 226 คน ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนประชากร 568 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สุ่มจำนวนโรงเรียน 25 โรงเรียน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นเกณฑ์ และขั้นตอนที่ 2 ใช้การสุ่มอย่างง่าย เป็นการสุ่มจำนวนครูจากโรงเรียนในแต่ละขนาด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1. แบบสอบถามพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 2) 2. แบบสอบถามการปฏิบัติงานของครูมีค่าความเชื่อมั่น 0.893 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษา (X) กับการปฏิบัติงานของครู (Y) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ชุติกาญจณ์ ทองทับ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอเมืองชลบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิพวรรณ ผสมทรัพย์ ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ และทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2561). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 15, 112 - 123.
ธนพล สะพังเงิน. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. ในวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นิชานันท์ ราวัน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พรชัย เจดามาน. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2567 จาก https://www.kroobannok.com/83312
ภัทราภา วงค์พันธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลการทางานของครูผู้สอน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มงคล จิตรโสภิณ. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะไทยแลนด์ 4.0 ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 20(1), 47-66.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียน “ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. New York: Wiley & Son.
Sergiovanni, T. J. and Carver, F. D. (1980). The New School Executive: A Theory of Administration. (2 nd ed.). New York: Harper and Row Publishing Inc.