การบริหารตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารตามหลักรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ 2. พัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ และ 3. ประเมินแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักรับผิดชอบต่อสังคม ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยใช้ระเบียบวิธีแบบผสม โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและคณะครูจำนวน 148 คน 2. การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาผ่านกระบวนการระดมสมองจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน และ 3. การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหาร โดยผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์อยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อย 6 องค์ประกอบ รวมทั้งหมด 31 แนวทาง และ 3. การประเมินแนวทางการบริหารตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2553). รายงานการจัดการศึกษาของเทศบาล. เชียงใหม่: สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). การพัฒนาคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมในสถานศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ, 75-80.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). ข้อมูลสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
จณิน เอี่ยมสะอาด. (2550). การนำแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมมาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. ใน เอกสารการสอนการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จินตนา บุญบงการ. (2554). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมา ไชยสิทธิ์. (2554). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2557). การบริหารจัดการการศึกษาตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประเวศ เวชชะ. (2559). การบริหารหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. เชียงราย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. ใน การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎวโลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. จังหวัดปทุมธานี.
ยศสราวดี กรึงไกร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1784-1795.
ศรีทรงพล ศรีฤกษ์. (2566). ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัด. กรุงเทพฯ: วารสาร นวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 275–293.
สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน (2565). หน้าที่และอำนาจผู้ตรวจการแผ่นดิน. เรียกใช้เมื่อ 8 ตุลาคม 2566 จาก https://www.ombudsman.go.th/new/
สมพงษ์ ยิ่งเมือง. (2561). การศึกษาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน. สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลคลองประสงค์ อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970).Determining Sample Size for Research. Activities:Educational and Psychological Measurement.