การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของประโยค โดยการใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า

Main Article Content

รุ่งนภา แสงวิชัย
นุชนงค์ อุเทศพรรัตนกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ชนิดของประโยค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักการจัดการเรียนรู้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) จำนวน 5 แผน 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ โดยการหาคะแนนเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ หลังจากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมาคิดคะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D) แล้วนะคะแนนมาทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test Dependent Sample


          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของประโยค โดยการใช้รูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.60/80.17 แสดงว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ร้อยละ 75 และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง ชนิดของประโยค โดยการใช้รูปแบบ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีนัยสําคัญที่ 0.05 ซึ่งนักเรียนได้คะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 5.63 คิดเป็นร้อยละ 28.71 โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.79  และได้คะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 16.03 คิดเป็นร้อยละ 80.20 โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.40 แสดงว่านักเรียน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กําชัย ทองหล่อ. (2547). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2541). ผลการใช้เทคนิคการตั้งคำถามของครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมกล่มุของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 5. ใน ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต กศ.ม. สาขาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.

ชาตรี เกิดธรรม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเพ็ญ ทรงพระ. (2567). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วิทยา นูสีหา. (2560). การพัฒนาร้อยเรียงประโยคในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้การสอนกลุ่มร่วมมือ STAD ประกอบเเบบฝึกหัด. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษา. (2557). คู่มือการจัดการทดสอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2561). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.