รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพ เสริมสวยและความงามเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ

Main Article Content

เพ็ญศรี โชติรัตน์
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ
วีณัฐ สกุลหอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง รูปแบบ และการประเมินรูปแบบของการพัฒนาโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพเสริมสวยและความงามเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ และสอบถามผู้บริหารและครู ทำการวิเคราะห์ Priority Needs Index (PNI) ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบจากผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. สภาพปัจจุบันของบทบาทของโรงเรียน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่คาดหวังของบทบาทของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่า PNImodified พบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีค่า PNImodified สูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ

  2. 2. รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพเสริมสวยและความงามเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ประกอบด้วย 6 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 เนื้อหาของรูปแบบ ส่วนที่ 4 วิธีดำเนินการของรูปแบบ ได้แก่ BEAUTY SCHOOL MODEL ส่วนที่ 5 การประเมินผลของรูปแบบ ส่วนที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ มีความเหมาะสม

  3. รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทวิชาชีพเสริมสวยและความงามเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด                   

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เรียกใช้เมื่อ 30 มกราคม 2568 จาก https://www.shorturl.asia/HlYqJ

กิจจา บานชื่น. (2559). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชัยวัฒน์ วิชัยวงศ์ และทิพย์รัตน์ แสงเรืองรอบ. (2562). อิทธิพลของปัจจัยบุคลิกภาพ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยความคุ้มค่าที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในพื้นที่ธุรกิจกรุงเทพมหานคร ผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างโซเชียลคอมเมิร์ซกับอีคอมเมิร์ซ. วารสารจันทรเกษมสาร, 25(1), 1-16.

ทัศนีย์ รัตนสุวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานของสถานศึกษาเอกชนขั้น พื้นฐานที่มีประสิทธิผล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ธนบดี เพ็ชร์น้อย, ทรงยศ แก้วมงคล และสมนึก การีเวท. (2566). การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครสู่ความเป็นเลิศ. วารสารศิลปะการจัดการ, 7(2), 845-866.

ธัญญาภัทร์ เลิศจันทรางกูร. (2563). เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซีเอ็ด.

นันท์วภัส ชัยเลิศวราภัทร. (2563). การศึกษาการสร้างคุณภาพการให้บริการ บุคลิกภาพ และกระบวนการให้บริการที่มีผลต่อภาพลักษณ์องค์กรด้านการให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำในสนามบินนานาชาติดอนเมือง. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เมธิรินทรา รัตนภรณ์ และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2560). แนวทางการบริหารงานตามมาตรฐานคุณภาพโรงเรียนเอกชนนอกระบบของโรงเรียนกวดวิชาในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร OJED, 12(1), 611-623.

พัชราภรณ์ เกษะประกร. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อการบริหารเอกลักษณ์ภาพลักษณ์และชื่อเสียงองค์กร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สคช. ร่วมมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ โรงเรียนเอกชนนอกระบบทั่วประเทศ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 30 มกราคม 2568 จาก https://www.shorturl.asia/oD9kM

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2567). คู่มือการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสนับสนุน และกำกับดูแลการศึกษาเอกชน. เรียกใช้เมื่อ 30 มกราคม 2568 จาก https://opec.go.th/download/detail/24

อภิรดี ระวิโรจน์. (2562). บุคลิกภาพเชาวน์จิตอัจฉริยะที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าธนาคารพาณิชย์. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample size for Research Activities. Education and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.