การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พระโชติพันธุ์ สุโชติโก (เกิดสุภาพ)
เกษฎา ผาทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อเปรียบเทียบการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พระสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 175 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์และประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ


            ผลการวิจัยพบว่า 1. การปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักอุเบกขา รองลงมา คือ ด้านการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักมุทิตา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักเมตตา 2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ และพรรษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาสามัญ และวุฒิการศึกษาทางธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหาร 4 ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ข้อเสนอแนะ คือ วางตนเป็นกลาง ไม่ให้คุณกับผู้หวังผลประโยชน์ ไม่ให้โทษกับผู้ต่างอุดมคติ, ควรยกย่องพระสงฆ์ หรือคฤหัสถ์ที่ทำประโยชน์แก่ชุมชน และไม่ควรปกป้องพระสงฆ์ที่กระทำผิด เนื่องด้วยเป็นสหาย สนิทกัน หรือมีประโยชน์ร่วมกัน

Article Details

บท
บทความ

References

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2514). พระนิพนธ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.

ณัฐฐาพร จินดาสวัสดิ์. (2558). การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทย กรณีศึกษา มหาเถรสมาคม. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ. (2562). การปกครองคณะสงฆ์ไทยในยุคปฏิรูปไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), 90.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมเจดีย์, พระครูปลัดนิเวช ชินวโร และพรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2566). การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อการปกครองคณะสงฆ์ภาค 11. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(1), 1.

พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี). (2546). การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในธรรมปริทัศน์ 46. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม (ยศขุน). (2557). พุทธวิธีการปกครองสงฆ์. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/554384.

พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์). (2560). พระสังฆาธิการ. เรียกใช้เมื่อ 15 เมษายน 2565 จาก http://www.mahabunhome.com.

ไพรถ เลิศพิริยกมล. (2539). สภาพปัญหาสังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาราชภัฏ.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2542). นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). การนิเทศเพื่อส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.