สติปัฎฐาน 4 กับการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ใช้การศึกษาวรรณกรรมและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยอ้างอิงหลักพุทธปรัชญาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของสติปัฏฐาน 4 ในสังคมไทย สติปัฏฐาน 4 คือการฝึกสติในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) กายานุปัสสนา พิจารณากายว่าเป็นเพียงธาตุรวมกัน (2) เวทนานุปัสสนา พิจารณาความรู้สึกว่าเป็นเพียงเวทนา (3) จิตตานุปัสสนา พิจารณาสภาพจิตตามความจริง (4) ธัมมานุปัสสนา พิจารณาธรรมตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นและดับไป สติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นแนวทางการฝึกสติในพระพุทธศาสนา ตลอดจนวิเคราะห์บทบาท และประโยชน์ของสติปัฏฐาน 4 ในการดำเนินชีวิตของคนไทยในบริบทปัจจุบัน โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสติในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านจิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม นอกจากนี้ บทความยังมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
ผลการศึกษานี้เน้นความสำคัญของสติปัฏฐาน 4 ในการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของการฝึกสติในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความสมดุลในสังคมไทย บทความยังอธิบายหลักสติปัฏฐาน 4 ในเชิงพุทธปรัชญา พร้อมทั้งวิเคราะห์การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงข้อจำกัดและความท้าทายต่าง ๆ การฝึกสติผ่านกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ช่วยให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น ลดความขัดแย้ง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในสังคม การประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและสมดุล
Article Details
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) แปล, กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2549). พุทธธรรม. (พิมพครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: โรงพิมพบริษัทสหธรรมิก จํากัด.
พระญาณธชะ. (2546). ปรมัตถทีปนี ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ. พระคันธสาราภิวงศ แปล, กรุงเทพฯ: หางหุนสวน จํากัด ไทยรายวัน กราฟฟคเพลท.
พระพุทธโฆสเถร. (2548). คัมภีรวิสุทธิมรรค แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย (อาจ อาสภมหาเถร). (พิมพครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส จํากัด.
พุทธทาสภิกขุ. (2543). ศิลปะการดําเนินชีวิต (เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม). (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพสุขภาพใจ.