วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP <p>วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม (Journal of Interdisciplinary Social Development)</p> <p>E-ISSN : ISSN : 2822-1060 (Online)<br />เป็นวารสารในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ </p> th-TH journalsocialdevelopment@gmail.com (Pichaya Sriphan) ketsada.iadp@gmail.com (Pichaya Sriphan) Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบาทการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1481 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาประโยชน์และคุณค่าการปฏิบัติงานประกันสังคมตามหลักฆราวาสธรรมของบุคลากรสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนาความ<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรสำนักงานล้วนมีการปฏิบัติงานภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับที่โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2559 ได้กำหนดไว้ 2. บุคลากรล้วนมีการนำเอาหลักฆราวาสธรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน คือ มีการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมาขยันหมั่นเพียร อดทนอดกลั้น และจริงใจให้แก่กันในขณะทำงาน สามารถควบคุมอารมณ์จิตใจตนเองโดยใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาแล้วนำมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี ทั้งมีความเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเพื่อให้การปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นไปอย่างราบรื่นและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 3. บุคลากรล้วนเห็นว่าหลักฆราวาสธรรมมีประโยชน์และคุณค่าต่อการปฏิบัติงานอย่างมากเพราะสามารถนำมาใช้ลดความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในการทำงาน ให้งานทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นจากการเป็นคนซื่อสัตย์จริงใจ อดทนอดกลั้น รู้จักใช้สติยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ข่มจิตใจแล้วนำพิจารณาปรับปรุงตนตลอดเวลา ทั้งมีความเสียสละ โอบอ้อมอารีเป็นที่พึงให้คนอื่น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเหตุให้การครองเรือนและการครองงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่การงานตามที่หวังไว้</p> ขจรยศ นพมณีวรรณ์, สุกิจ ชัยมุสิก Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1481 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 การปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1479 <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า (t-test) การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test or One – Way ANOVA) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ LSD (Least Significant Difference)<br /> ผลการวิจัยพบว่า การปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ของพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการออกระเบียบตามหลักสังคหวัตถุ 4 ด้านการลงโทษตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ ด้านการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามลำดับ โดยพนักงานมหาวิทยาลัยที่มี เพศ การศึกษา และอายุการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองเกี่ยวกับการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 ไม่แตกต่างกัน และพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปกครองเกี่ยวกับการปกครองภายใต้หลักสังคหวัตถุ 4 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 </p> <p> </p> กนกพร วิมลตระกูล, สุกิจ ชัยมุสิก Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1479 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กชายขอบ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1477 <p> สถานการณ์และปัญหาของเด็กไทยในขณะนี้ กำลังเผชิญกับความเสี่ยงอย่างมากมาย อันเกิดจากสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันตรายที่ล้อมรอบตัวเด็ก เด็กจำนวนมากที่ซึมซับพฤติกรรมที่รุนแรง สื่อลามก อนาจาร การเสพยาเสพติด การมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร อยู่ในแหล่งมั่วสุมพฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตร่วมสมัยของเด็กที่เติบโตขึ้นทุกวัน ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐต้องรีบแก้ไข อย่างเร่งด่วน เนื่องจากโครงสร้างหลักของการผลิตคนไทยพันธุ์ใหม่ ในยุคทุนนิยม โลกาภิวัฒน์ บริโภคนิยม เพศเสรี ยาเสพติด กำลังกลายเป็นวิถีชีวิตพื้นฐาน ของเด็กไทยเข้าไปทุกที เด็กบางคนก็ใช้การตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรง เพราะขาดการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั่นเอง</p> ศรีเสด็จ กองแกน, สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1477 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรบริหารงานวิจัยในศตวรรษที่ 21 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1406 <p> ในศตวรรษที่ 21 องค์กรจัดการวิจัย (RMO) จะต้องได้รับการจัดการเชิงกลยุทธ์หากต้องการส่งเสริมนวัตกรรม เพิ่มการใช้ทรัพยากรให้สูงสุด และจับคู่วัตถุประสงค์การวิจัยกับความต้องการของสังคมและวัตถุประสงค์ขององค์กร ด้วยการใช้กลยุทธ์เหล่านี้ RMO สามารถเพิ่มผลกระทบของการวิจัยให้สูงสุดและรับประกันการพัฒนาที่ยั่งยืนในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ยากลำบากเช่นการแข่งขันระดับโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวยุทธศาสตร์การบริหารองค์กรบริหารงานวิจัยในศตวรรษที่ 21 ผลการศึกษาพบว่า การบูรณาการเชิงกลยุทธ์ของแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน ความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมีความจำเป็นสำหรับการจัดการที่มีประสิทธิภาพขององค์กรจัดการทรัพยากร (RMO) การใช้ AI และการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีกลยุทธ์ ในขณะที่การนำแบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนและหลักการที่ยั่งยืนมาใช้รับประกันการปฏิบัติตามกฎหมายและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปลูกฝังความสามารถในการปรับตัวและการมองการณ์ไกลช่วยให้ RMO นำทางไปสู่ความไม่แน่นอน ใช้ประโยชน์จากโอกาส และรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในศตวรรษที่ 21 RMO สามารถบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน และผลกระทบต่อสังคมโดยการส่งเสริมวัฒนธรรมของการตัดสินใจเชิงรุกและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยสรุป ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล เทคโนโลยี ความยั่งยืน และการทำงานร่วมกันจะต้องบูรณาการเข้ากับการจัดการ RMO เพื่อนำทางความไม่แน่นอนและรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลกระทบทางสังคม การปรับตัวและการมองการณ์ไกลถือเป็นสิ่งสำคัญ</p> กฤษฎา แสนบัวคำ, สัญญา เคณาภูมิ Copyright (c) 2024 วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JISDIADP/article/view/1406 Tue, 20 Aug 2024 00:00:00 +0700