การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษีอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 377 คน และใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) กรณีเมื่อพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe')
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พบว่า การวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด พบว่า วิริยะ รองลงมา คือ ฉันทะ และวิมังสา ตามลำดับ และการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด พบว่า การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ต้องปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนมีความพอใจในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรมีการซักถามถึงปัญหาและเสริมแรงกระตุ้นให้กับผู้นำท้องถิ่น และผู้บริหารต้องบริหารงานด้วยหลักธรรมข้อเสนอแนะองค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ควรกำหนดแนวทางการให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนทุกภาพส่วนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความต้องการของประชาชน และปัญหาต่างๆ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ตรงตามความต้องการของประชาชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นิติรัตน์ ไชยอำนาจ. (2560) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ใน งานนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัยนา พรมสวย. (2560) การใช้อิทธิบาท 4 ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชนบูรณ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553) การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8) กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระกีต้าร์ กิตติวุฑฺโฒ. (วิไลวงศ์) (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมปอง สกลดิลก. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาบูรพา.
สมิตานันท์ ดาบแก้ว. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2545). ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของชุมชนชาวจีน. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสำนักงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.