นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนา โมเดลในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

บุญเพ็ง สิทธิวงษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีเหตุผล 1) เพื่อศึกษานวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดล และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดลในจังหวัดอุดรธานี การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และสัมภาษณ์ 10 คน ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


นวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดลในจังหวัดอุดรธานีตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.07,S.D.=38) โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านสร้างเสริมสื่อและประชาสัมพันธ์ ( =3.11,S.D.=.37) ด้านการประสานงานร่วมกัน ( =3.08,S.D.=.17) และด้านการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน                ( =3.02,S.D.=69) ตามลำดับ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลัก ทฤษฎีใหม่โคกหนองนาโมเดลในจังหวัดอุดรธานี โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านความช่วยเหลือจากภาคีเครือข่าย (X3) ด้านความช่วยเหลือจากการท่องเที่ยว (X6) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425, .375 ตามลำดับ


ควรมีการประสานงานกับงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการอย่างเป็นใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาบูรณาการกับนวัตกรรมทั้งหน่วยงานท้องถิ่นนำเทคโนโลยีสื่อ ประชาสัมพันธ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนตามหลักทฤษฎีใหม่ หน่วยงานภาครัฐควรนำสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการพัฒนา 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2551). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน และธาดา วิมลวัตรเวที. (2553). การพัฒนารูปแบบการออมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อการดําเนินชีวิตของนิสิตคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขวัญตา มูลชารีและคณะ. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารแก่นเกษตร, 47(1), 1059- 1064.

ดนัย จันทร์เจ้าฉาย. (2552). White Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว.กรุงเทพมหานคร: ดีเอ็มจี.

นิธิพัฒน์ชารี. (2562). การศึกษาการประยุกต์ใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรจังหวัด สกลนคร เพชรบุรีและฉะเชิงเทรา. ใน วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรม: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ.กรุงเทพมหานคร: วี. พริ้น.

ภรณี ต่างวิวัฒน์. (2558). สื่อบุคคลเพื่อการสื่อสารในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร หน่วยที่ 6-10 (น.6(1)-6(75)). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก http://www.chaipat.or.th.

วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ. (2554). ปฏิรูปเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร: บทวิเคราะห์และปฏิบัติทางการเกษตร. นนทบุรี: พิมพ์ดี.

วิศรุตา ทองแกมแก้ว และชนินทร์จักรภพโยธิน. (2559). การเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะตัวแปรกำกับระหว่างนโยบายรัฐกับการแก้ปัญหาวิกฤยางพาราภาคใต้. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 128-148.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฏาคม 2566, จาก www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf

Tidd, J., & Bessant, J. (2013). Managing innovation: Integrating technological, market and organizational change. 5th ed. Chichester: John Wiley and Sons.