นโยบายพรรคการเมืองต่อกลุ่มเพศหลากหลาย

Main Article Content

ชิเนนนท์ พวงพันธ์

บทคัดย่อ

พรรคการเมือง เป็นองค์ประกอบสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยแสดงถึงวิสัยทัศน์, อุดมการณ์, เจตนารม, และการนำเสนอนโยบาย ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนเพื่อให้ได้รับความนิยมและความไว้วางใจจนสามารถชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งพรรคเป็นรัฐบาลในการบริหารจัดการประเทศและช่วยแก้ไขหรือหาข้อตกลงร่วมกันในการขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม


กลุ่มเพศหลากหลาย (LGBTQ) ถือเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีตัวตนในสังคม ตั้งแต่อดีตสมัยโบราณจนเชื่อมโยงมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเหล่านี้เป็นผู้มีสิทธิมีเสียงในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อคัดเลือกผู้ปกครองอย่างเทียบเท่าเพศกระแสหลัก (ชาย-หญิง) พรรคการเมืองที่จะเข้ามาสู่การได้รับคัดเลือกจากประชาชนจนสามารถจัดตั้งเป็นรัฐบาลในการทำหน้าที่บริหารจัดการประเทศชาติ และใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น นโยบายของพรรคการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้กลุ่มเพศหลากหลายหรือผู้มีความหลากหลายทางเพศในฐานะประชาชนของสังคมประชาธิปไตยตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใดพรรค


การเมืองหนึ่ง โดยที่พรรคการเมืองเหล่านั้น ให้ความสำคัญหรือมองเห็นถึงความสำคัญในการมีตัวตนของเพศหลากหลายในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง เพื่อกำหนดนโยบายที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและสภาพปัญหาต่างๆ เพราะถือเป็นสิทธิและเสียงสนับสนุนจากกลุ่มเพศหลากหลายเพื่อให้พรรคการเมืองนั้นชนะการคัดเลือกตามระบอบประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

วิทยากร เชียงกูล. (2566). หลักการปกครอง. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤษภาคม 2566 จาก https://witayakornclub.wordpress.com/2007/06/26/democratic/

เคท ครั้งพิบูลย์. (2565). สิทธิเพศหลากหลายในฐานะพลเมืองและความต้องการสวัสดิการสังคมในประเทศกำลังพัฒนา. รายงานสืบเนื่องการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. 65, 223-224.

วิทยา นภาศิริกุล และ สุรพล ราชภัณฑารักษ์. (2539). พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โกเมศ ขวัญเมือง. (2563). พรรคการเมืองเปรียบเทียบ. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 2 (3), 46.

ไพบูล สุขเจตนี. (2565). ปัจจัยการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), 85-90.

บุษกร สุริยสาร. (2557). อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

ปริยศ กิตติธีระศักดิ์. (2560). ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำนิยามในการศึกษาถึงความหลากหลายทางเพศในคนกลุ่มน้อยทางเพศในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(2), 1-14.

วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). พัฒนาการการยอมรับและรับรองสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 39(3), 115.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2553). ขบวนการเคลื่อนไหวของเกย์ในสังคมไทยภาคปฏิบัติการและกระบวนทัศน์ . ใน วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสังคมคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนูญ วงษ์มะเซาะห์. (2566). ทำความรู้จักกับ LGBTQI ตัวย่อที่มีความหมาย และประเด็นที่น่าสนใจในความก้าวหน้าของกลุ่ม LGBTQI. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2566 จาก https://www.amnesty.or.th/latest/blog/860/

ราเมศ พรหมเย็น. (2566). เพศแห่งสยาม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. https://web.facebook.com/rsat.info/posts/679397725580812/?_rdc=1&_rdr

Key V.O. (1964). Politics,Parties and Pressure Groups. New York: Thomas Y.Crowell.

Friedrich, C.J. (1963). Man and His Government. New York: McGraw - Hill.

Greenwood, W. T. (1965). Management and Organizational Behaviour Theories:An Interdisciplinary Approach. Ohio: South-Western Publishing Co.

Piffner, J. M. (1960). Administrative Organization. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice–Hall.

Subhanetto, K., Varinto, W. & Panyarattanakorn. (2020). Homosexuality: An Analysis Based onBuddhist Ethics Guidelines. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences,3 (1), 92-103.

Drescher, J. (2015). Out of DSM: Depathologizing Homosexuality. Behavioral Sciences, 5(4), 565-575.