รูปแบบการบริหารจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์

Main Article Content

พระณัฐวุฒิ พันทะลี
วีรนุช พรมจักร์
พระเดชา นามวงษา
พระมหาวิรุธ วิโรจโน
พระครูวินัยธร ทวี อภโย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งแสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทำให้วัดต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการบริหารจัดการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ผู้บริหารวัดต้องมีการพัฒนาการด้านเทคโนโลยี บูรณาการด้วยหลักพุทธธรรมนำการบริหารไปพร้อมกับความเจริญ และมีกฎหมาย พระราชบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ มาเกื้อกูลพระธรรมวินัย โดยเฉพาะการบริหารวัดที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากสมัยก่อนอย่างมาก เช่น ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ มีรูปแบบที่ปฏิบัติชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากการบริหารจัดการวัดตามภารกิจหลัก 6 ประการแล้ว ยังต้องมีการใช้หลักการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับวัด ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญที่ผู้บริหารวัดจะต้องเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้ที่จะเป็นผู้บริหารวัดต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ ความเสียสละ และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ตลอดจนเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรข้อปฏิบัติ เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์และสังคมโดยรวมและที่สำคัญจะต้องเป็นนักบริหารที่มีความซื่อสัตย์ยุติธรรม ต้องเว้นจากความมีอคติทั้งปวง ตั้งมั่นในหลักพรหมวิหารธรรมเป็นแกนหลักของการบริหารวัดอันจะเป็นกำลังที่สำคัญของพระพุทธศาสนาสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2546). คู่มือการบริหารจัดการวัดฉบับย่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2539). วัดพัฒนา 46. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กฤติน จันทร์สนธิมา. (2561) “การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศาสนสมบัติโดยใช้แนวทางประชารัฐ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันพระปกเกล้า.

เฉียบ ไทยยิ่ง. (2541). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์ลางชุมชน : กรณีศึกษาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. ใน รายงานการวิจัย. กองแผนงาน กรมการศาสนา.

ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2540). วิทยาการบริหารสําหรับนักบริหารมืออาชีพในยุคโลกาภิวัตน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นครินทร์ แก้วโชติรุ่ง. (2556). รูปแบบและหลักการของการปกครองในพระไตรปิฎก. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

น้อย ลายคราม และ สุบรรณ จันทบุตร. (2548). หลักการบริหารและจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.

นิชรา ทองเย็นและคณะ. (2560). การบริหารจัดการวัดในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา: วัดพนัญเชิงวรวิหาร วัดใหญ่ชัยมงคลและวัดท่าการ้อง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญช่วย จันทร์เฮ้า. (2544). “พฤติกรรมการบริหารของเจ้าอาวาสที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์คณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร”. ใน ระดับวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเวศ วะสี. (2539). “พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันในสังคม” ในหลักการบริหารและจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2557). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่ง พระพุทธศาสนา. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2546). การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2546). การคณะสงฆ์และการศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2547). “พระสงฆ์กับกรมศาสนา”. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมโกศาจารย์. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). (2549). พิธีมอบประกาศนียบัตรหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหาร กิจการคณะสงฆ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2530). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระวิบูลธรรมวาที (วิบูล กัลยาโณ). (2546). “พระสังฆาธิการกับวัด”. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2560). การบริหารจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 548-550.

เลื่อน วรรณรัตต์. (2512). พระอารามครั้งพุทธกาล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนการพิมพ์.

ศรัณย์ ชูเกียรติ. (2541). “เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการ “องค์ความรู้” ในองค์การ : กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน.” วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 20(7), 13-22.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546). วัดพัฒนา 46. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2546). วิถีการเรียนรู้ : คุณลักษณะที่คาดหวังในช่วงวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

DeCenzo, David A. and Robbins, Stephen P. (1996). Human Resource Management. 5 th ed. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Smither, Robert D., Houston, John M., and McIntire, Sandra D. (1996). Organization Development: Strategies for Changing Environment. New York: Harper Collins Press.