การเลือกตั้ง : กระบวนการเพื่อความเป็นประชาธิปไตย

Main Article Content

สมภพ ระงับทุกข์

บทคัดย่อ

การเลือกตั้งเป็นกระบวนการวินิจฉัยสั่งการอย่างเป็นทางการซึ่งประชาชนเลือกปัจเจกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง การเลือกตั้งเป็นกลไกปกติที่ใช้ในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 การเลือกตั้งอาจเพื่อเลือกผู้ดำรงตำแหน่งในสภานิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารและตุลาการ และสำหรับรัฐบาลภูมิภาคและท้องถิ่น กระบวนการนี้ยังใช้ในองค์การเอกชนและธุรกิจ ตลอดจนสโมสรจนถึงสมาคมและบรรษัท สำหรับปัจจุบัน การเลือกตั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการหล่อหลอมเจตจำนงและความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน เพื่อให้เกิดความชอบธรรมแก่ผู้ปกครอง และเป็นเครื่องมือในการใช้ควบคุมการใช้อำนาจรัฐ ถือเป็นการแสดงเจตจำนงแห่งรัฐ ซึ่งการเลือกตั้งระดับรัฐมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ หลักการเลือกตั้งโดยทั่วไป โดยเสมอภาค โดยตรง โดยลับ และโดยเสรี อีกทั้งเป็นการออกเสียงลงคะแนนเลือกตัวแทนของตนตามอิสระ ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งนั้นจะต้องเป็นผู้ที่สมัครใจเสนอตัวเข้ามาให้ประชาชนเลือก และผู้ที่ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้แทนของประชาชน ทั้งหมดมีสิทธิตามที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมล ทองธรรมชาติ. (2525). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2535). การเลือกตั้งกับการพัฒนาทางการเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมลจรรย์ นามวัฒน์. (2534). การเลือกตั้ง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา ชินบุตร. (2559). การเลือกตั้ง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ. (2520). ลัทธิการเมือง และเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

Turner, M.G., D.N. Wear, R.O. Flamm. (1996). Land ownership and land-cover change in the Southern Appalachian Higlands and the Olypic Peninsula. Ecological Application, 6(4), 114-1172.