การประยุกต์แนวทางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 สู่รูปธรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของประชาชนหมู่บ้านโนนยาง ตำบลนาดี อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระราชรัตนาลงกรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการประยุกต์แนวทางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ใช้การสนทนากลุ่ม จำนวน 14 รูป/คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาประกอบบริบท 


          ผลการวิจัยพบว่า เจตนารมณ์ร่วมกันในการสร้างสังคมให้เป็นสังคมที่มีศีล มีสุข ปรองดองสมานฉันท์ โดยสร้างหลักประกันให้กับชีวิตตามหลักของศีล 5 ประกอบด้วย
1) หลักประกันความมั่นคงของชีวิต คือ ไม่มุ่งร้ายทำลายผู้อื่น 2) หลักประกันความมั่นคงของทรัพย์สิน  คือ ไม่ทุจริต ไม่คิดโกง ไม่มัวเมา ไม่ละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้อื่น 3) หลักประกันความมั่นคงของสถาบันครอบครัว คือ ไม่ละเมิดต่อจริยธรรมทางเพศ 4) หลักประกันความมั่นคงของสิทธิในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร  คือ ไม่กล่าวถ้อยคำที่ปราศจากสติ และขาดความรับผิดชอบ อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางสังคม 5) หลักประกันความมั่นคงของสุขภาพ คือ การไม่ดื่ม ไม่เสพสิ่งของมึนเมาและสิ่งเสพติดทุกชนิด ส่วนแนวทางการดำเนินงานในภาครัฐ และภาคเอกชน จึงกำหนดวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนให้มี “กลยุทธ์” เพื่อความก้าวหน้าทั่วทั้งองค์การตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้ได้รับผลงานที่มีคุณภาพ อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแบบแผนที่ชัดเจน ในการใช้ “ทรัพยากร” “เครื่องมือ” และ “สิ่งอำนวยความสะดวก” ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์เฉลิมชัย และคณะ. (3560). จริยธรรมในการตัดสินใจกับการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 142-155.

พระครูวินัยธรเอนก เตชวโร (ใยอินทร์) และคณะ. (2560). การบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอยู่ ร่วมกันของชุมชนต้นแบบภาคเหนือตอนล่าง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 601.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระเพิ่มเติม ช่วงที่ 1). (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวดี รางชัยกุลวิบูลศรี. (2542). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วณิฎา ศิริวรสกุล และ วัชรินทร์ อินทพรหม. (2561). รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้ประสบความสำเร็จ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 204.

สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2540). การสำรวจความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ของเยาวชนไทยที่กาลังศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.