รัฐศาสตร์แนวพุทธศาสตร์

Main Article Content

พระมหาคณิต อโนมปญฺโญ
พระมหาอัครวุฒิ ชิตมาโร
พระคมปาว วรวํโส
พระเสกสิทธิ์ ฐิตธมฺโม

บทคัดย่อ

 เสรีภาพทางการเมืองเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมในการดําเนินกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองรวมถึงเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตนทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเสรีภาพในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดําเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการรวมกลุ่ม เสรีภาพในการเลือกตั้งอย่างเสรี ในขณะเดียวกันนี้ ความเข้าใจในหลักธรรมตามแนวพุทธเป็นคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการปกครองทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองทําให้ได้นักปกครองที่ดีและพลเมืองที่ดีโดยอาศัยอํานาจความดีที่เกิดจากการประพฤติตนให้มีคณะธรรมใช้อํานาจนั้นในการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในรูปแบบของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก เมื่อกล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า หลักรัฐศาสตร์เป็นเรื่องของการเมืองการปกครอง ที่มีเนื้อหารูปแบบและวิธีการเพื่อทําให้คนในสังคมมีความเจริญก้าวหน้าและอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่กัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักพุทธศาสตร์หรือหลักคําสอนทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งหมายให้คนเกิดมาเป็นคนดี มีศีลธรรมที่จะนําตนและประเทศชาติให้สงบสุขและมีความเจริญรุ่งเรืองเสรีภาพทางการเมืองในความหมายของ พระพุทธศาสนาคือคนที่มีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงําด้วยกิเลสทางการเมือง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษ เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก 6 หน้า 7-8 (4 เมษายน 2560).

สงบ เชื้อทอง. (2565). รัฐศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 13 ธันวาคม 2565 จากhttp:// psiba.blogspot.com/

สมยศ เชื้อไทย และวรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2527). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย. วารสารนิติศาสตร์, 14(3), 56.

อภินันท์ จันตะนี. (2561). พุทธรัฐศาสตร์สำหรับการส่งเสริมความมั่นคงแห่งพลเมือง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(2), 290.