วัฒนธรรมทางการเมือง : แนวคิดสู่การพัฒนาสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมือง : แนวคิดสู่การพัฒนาสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายและลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมือง อันเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของสังคมการเมืองกับสังคมการเมืองในเชิงจิตวิทยา โดยวัฒนธรรมทางการเมืองใดที่สังคมการเมืองต้องการก็มักถูกปลูกฝังให้เป็นความคิดอุดมการณ์, ความเชื่อ ฯลฯ ของสมาชิกในสังคมการเมืองนั้นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศซึ่งอาจมีลักษณะแตกต่างกัน มีผู้นำประเทศที่เรียกต่างกัน แต่ไม่ว่าประเทศนั้นจะมีระบบการปกครองแบบใดต่างต้องการความมั่นคง เพราะเมื่อประเทศมีความมั่นคงก็ย่อมส่งผลดีในทุกด้านความมั่นคงนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเมืองการปกครองที่มีเสถียรภาพ มีลักษณะของการพัฒนาเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความมั่นคงมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างอำนาจรัฐ ซึ่งแต่ละรัฐอาจมีความแตกต่างกัน จึงไม่อาจลอกเลียนแบบหรือรูปแบบของประเทศที่ต้องการได้ ทั้งนี้ในบริบทสังคมไทย ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะด้วยประการดังนี้ วัฒนธรรมทางการเมืองที่ได้อธิบายในเนื้อหาของบทความจึงเป็นทางเลือกกำหนดกรอบในการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตามอุดมการณ์ประชาธิปไตยในสังคมไทยให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าสืบไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฏฐพล บุณยพิพัฒน์. (2560). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (พ.ศ. 2475 –ปัจจุบัน): ข้อสังเกตในเชิงทฤษฎี. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการ สาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 “การบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล: กฎหมาย ความเป็นธรรม และการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย”. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Gabriel A. Almond & Sidney Verba. .(1956). The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown & Company.
Santaphan, C. (1999). Thai Political Culture: the true Constitution that has Never been Abolished. Online. Retrieved Janury 10 2019. from : http://www.pub law.net/publaw/view.aspx?id=1014
Joyce, P. (2015). Politics: A complete introduction. London: Hodder and Stoughton.